Page 164 - kpi16531
P. 164

นวัตกรรมการพัฒนารายได้     1
                                                                                 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น



                       ด้วยเหตุนี้เอง เมืองพัทยาจึงประสบปัญหาในการจัดการงบประมาณเพื่อนำมาใช้เป็นค่าใช้จ่าย

                 บริหารจัดการโรงบำบัดน้ำเสีย ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินเครื่องบำบัดน้ำเสียประมาณปีละ
                 30 ล้านบาท ระบบการดูแลและการซ่อมแซมโรงบำบัดน้ำเสีย ค่าไฟฟ้าที่ใช้ในการเดินเครื่องบำบัด
                 ความพร้อมของด้านบุคลากรที่เกี่ยวข้องเรื่องการบริหารจัดการน้ำเสีย ซึ่งในระหว่างการก่อสร้าง

                 โรงบำบัดน้ำเสีย เมืองพัทยายังไม่มีบุคลากรเฉพาะทางประจำ กล่าวได้ว่า เป็นหมวดค่าใช้จ่าย
                 ค่อนข้างสูงในแต่ละปี แม้ว่ากรมควบคุมมลพิษได้มีการจัดทำแผนปฏิบัติสำหรับการจัดการน้ำเสีย
                 ที่ประกอบด้วยการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียรวม การศึกษาอัตราค่าบริการบำบัดน้ำเสียที่เหมาะสม

                 ระบบการบริหารจัดการ และการจัดเก็บค่าบริการ เพื่อจะนำมาใช้ภายหลังการก่อสร้างแล้วเสร็จ
                 เพื่อให้การดำเนินงานระบบทั้งหมดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพก็ตาม (สำนักจัดการคุณภาพน้ำ
                 กรมควบคุมมลพิษ, “ความสำเร็จในการจัดการมลพิษของประเทศไทย,” การจัดการน้ำเสีย

                 เขตควบคุมมลพิษ เมืองพัทยา,<http://www.pcd.go.th/Info_serv/pol_suc_pattaya.htm>)

                       เมื่อพิจารณาเฉพาะรายได้ที่เมืองพัทยาจัดเก็บเองในพื้นที่ประมาณ 100 ล้านบาท รวมทั้ง
                 เงินที่ได้รับการจัดสรรอุดหนุนในช่วงพ.ศ. 2536-2538 ผ่านกระทรวงมหาดไทยเพียงปีละประมาณ

                 30.4 36.5 และ 41.5 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งนับว่าน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับรายได้ที่เกิดขึ้นใน
                 เมืองพัทยา จากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษเรื่องค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างระบบระบายน้ำและบำบัด
                 น้ำเสียเมืองพัทยารวมทุกระบบ ซึ่งก็ยังไม่เพียงพอต่อการส่งคืนเงินกองทุนสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้

                 ยังไม่มีการสนับสนุนงบประมาณจากส่วนกลางเพื่อดำเนินการและบำรุงรักษาระบบบำบัดน้ำเสียและ
                 กำจัดขยะมูลฝอยโดยเฉพาะ (กองกรรมาธิการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, รายงานของ
                 คณะกรรมาธิการสิ่งแวดล้อมวุฒิสภา เรื่อง การจัดการมลพิษ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                 เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติในส่วนที่เกี่ยวกับแนวทางในการจัดการอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ การ
                 ประเมินผลการประกาศเขตควบคุมมลพิษ เมืองพัทยา การประเมินผลโครงการฟื้นฟูบูรณะ
                 เมืองพัทยา ผลกระทบจากการตัดถนนผ่านป่าชายเลนและการวิเคราะห์ปัญหามลพิษจากโรงงาน
                 อุตสาหกรรมบริเวณใกล้เคียงวัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ, น. 33. (อัดสำเนา)) ด้วยเหตุนี้

                 เอง เมืองพัทยาจึงเริ่มค้นหามาตรการอื่นที่สอดรับไปพร้อมกับแผนปฏิบัติการที่คณะกรรมการ
                 สิ่งแวดล้อมแห่งชาติกำหนดให้เมืองพัทยาเป็นเขตควบคุมมลพิษนั่นคือ การให้เมืองพัทยาดำเนินการ

                 จัดเก็บค่าบริการน้ำเสียภายใต้หลักผู้ก่อให้เกิดมลพิษต้องเป็นผู้จ่าย (Polluter Pays Principle: PPP)
                 โดยเมืองพัทยาได้กำหนดให้มีโครงสร้างค่าบริการเช่นเดียวกันกับโครงสร้างของน้ำประปา กล่าวคือ
                 หากใช้น้ำในปริมาณมากก็จะเสียค่าบริการน้ำเสียมากขึ้น


                       กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการบำบัดน้ำเสีย

                       กฎหมายที่นำมาใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียของเมืองพัทยาแบ่ง

                 ออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

                       1. กฎหมายหลักที่มุ่งเน้นให้อำนาจรัฐในการควบคุมบริหารจัดการน้ำเสียทั่วประเทศ
                 ได้แก่
   159   160   161   162   163   164   165   166   167   168   169