Page 149 - kpi16531
P. 149
132 นวัตกรรมการพัฒนารายได้
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
24) ค่าธรรมเนียมการแพทย์
25) ค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
26) ค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการบำบัดน้ำเสีย
27) ค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการบำบัดน้ำทิ้ง
28) ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนพาณิชย์
29) ค่าธรรมเนียมกำจัดขยะมูลฝอย
30) ค่าธรรมเนียมอื่นๆ
เห็นได้ว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ
ได้มากถึง 30 ประเภท แต่มิได้หมายความว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งจะทำการจัดเก็บ
ค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะครบทุกประเภท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
มีการจัดให้บริการสาธารณะใดบ้าง นอกจากนี้ การดำเนินการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการ
สาธารณะใดย่อมเป็นไปตามกฎหมายเฉพาะเรื่องนั้น เช่น
< ค่าธรรมเนียมเก็บและขนมูลฝอย อุจจาระ และสิ่งปฏิกูล จัดเก็บตามพระราชบัญญัติ
การสาธารณสุข พ.ศ. 2535
< ค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ จัดเก็บตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบการจอด
ยานยนต์ในเขตเทศบาลและสุขาภิบาล แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535
< ค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการควบคุมอาคาร จัดเก็บตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535
< ค่าธรรมเนียมโรงฆ่าสัตว์ / โรงพักสัตว์ จัดเก็บตามพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าและ
จำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2535
< ค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการตั้งสุสานและฌาปนสถาน จัดเก็บตามพระราชบัญญัติสุสาน
และฌาปนสถาน พ.ศ. 2528
< ค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับใบอนุญาตการพนัน จัดเก็บพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478
< ค่าธรรมเนียมปิด โปรย ติดตั้งแผ่นประกาศหรือแผ่นปลิวเพื่อการโฆษณา จัดเก็บตาม
พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. 2493
< ค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า จัดเก็บตามพระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ.
2535
2.3.3 รายได้จากการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยภาพรวม
แม้ว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยสามารถจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการ
สาธารณะได้หลากหลายประเภทดังหัวข้อที่ 2.3.2 แต่สถานการณ์รายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น