Page 36 - kpi12821
P. 36

แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง




                   ไว้ในตราสารด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศหลายฉบับที่ประเทศไทยเป็นภาคี อาทิ

                   กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International
                   Covenant on Civil and Political Rights) ฉะนั้น การพิจารณาขอบเขตการคุ้มครอง
                   เสรีภาพดังกล่าวจะจำกัดอยู่ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญไทยเท่านั้นมิได้ หากแต่ต้องขยาย
                   การพิจารณาให้ครอบคลุมถึงพันธกรณีระหว่างประเทศที่ผูกพันประเทศไทยด้วย
                   ด้วยเหตุนี้ แม้หลักเกณฑ์การยุบพรรคการเมืองบางข้อได้ปรากฏในรูปบทบัญญัติ

                   รัฐธรรมนูญ แต่ก็อาจพิเคราะห์ได้ว่า บทบัญญัติดังกล่าวละเมิดพันธกรณีระหว่าง
                   ประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีได้  1


                        นอกจากนี้ กระบวนการพิจารณาให้พรรคการเมืองสิ้นสภาพและยุบ
                   พรรคการเมืองทั้งในชั้นคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และในชั้นศาลรัฐธรรมนูญ
                   ก็เกิดปัญหาทางปฏิบัติหลายประการ จนนำไปสู่ข้อสงสัยว่า กระบวนการดังกล่าวมีหลัก

                   เกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมแก่พรรคการเมือง กรรมการบริหารและสมาชิก
                   พรรคการเมืองที่ได้รับผลกระทบมากน้อยเพียงไร สอดคล้องกับสิทธิที่จะได้รับการ
                   พิจารณาอย่างเป็นธรรมตามที่รัฐธรรมนูญไทยและกติการะหว่างประเทศรับรองไว้
                   หรือไม่


                        ไม่เพียงเท่านั้น ผลทางกฎหมายของยุบพรรคการเมืองทั้งที่มีต่อพรรคการเมือง
                   เช่น การห้ามใช้ชื่อหรือสัญลักษณ์ของพรรคการเมืองที่ถูกยุบไปแบบเด็ดขาดถาวรโดย
                   ไม่มีการจำแนกแยกแยะตามระดับความร้ายแรงของมูลเหตุแห่งการยุบพรรค และผลที่

                   มีต่อกรรมการบริหารพรรคการเมืองเช่น การถูกห้ามมิให้เข้าชื่อจัดตั้งพรรคการเมือง
                   ใหม่และห้ามเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองอื่น หรือถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็น
                   เวลา 5 ปี ก็มีแง่มุมข้อพิจารณาทางกฎหมายหลายประการที่จำเป็นต้องศึกษาวิเคราะห์
                   โดยละเอียด


                        และท้ายที่สุด สมควรพิจารณาอีกว่า มาตรการทางเลือกอื่นๆ เช่น การเลิกหรือ
                   ลดเงินอุดหนุนพรรคการเมืองที่พรรคการเมืองนั้นๆ พึงได้รับ การสั่งให้พรรคการเมือง

                   ยุติการดำเนินการที่ขัดต่อกฎหมาย หรือการให้กรรมการบริหารพรรคที่มีส่วนรู้เห็น
                   ในการกระทำความผิดพ้นจากตำแหน่ง ให้ถูกตัดสิทธิเลือกตั้งและสิทธิทางการเมืองอื่น
                   ให้ต้องรับผิดทางแพ่งหรือถูกดำเนินคดีอาญา มีความเหมาะสมหรือไม่เพียงไรที่จะนำมา
                   ใช้ทดแทนการทำให้พรรคการเมืองสิ้นสภาพหรือการยุบพรรคการเมือง



                      1   โปรดดู รัฐธรรมนูญ 2550, ม. 257; และบทที่ 2 สภาพปัญหาหลักของการยุบพรรคการเมืองไทย
                   ในหัวข้อ 2.2 น. 51 – 55.
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41