Page 35 - kpi12821
P. 35

ณรงค์เดช  สรุโฆษิต




                    พรรคได้มาประชุมใหญ่ร่วมกันตกลงใจเลิกพรรคหรือควบรวมกับพรรคการเมืองอื่นใน

                    ภายหลัง

                          เมื่อพิจารณาบทบาทหน้าที่ของพรรคการเมืองในทางทฤษฎี ที่เป็นจุดเชื่อมโยง

                    ระหว่างผู้แทนและประชาชนที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองร่วมกัน ผ่านกระบวนการ
                    เลือกตั้งเข้าสู่อำนาจรัฐ เพื่อผลักดันอุดมการณ์ดังกล่าวให้สัมฤทธิ์ผล ตลอดจนบทบาท
                    หน้าที่ของพรรคการเมืองไทยในความเป็นจริง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพียงการรวมกลุ่มของผู้มี
                    ผลประโยชน์ร่วมกันในทางการเมืองเพื่อให้ชนะเลือกตั้งได้เป็น ส.ส. และเป็นรัฐบาล
                    ต่างสะท้อนลักษณะของพรรคการเมืองไทยที่ตกอยู่ภายใต้การครอบงำของชนชั้นนำใน

                    พรรคและทุนทางการเมือง ส่งผลให้พรรคการเมืองไทยไม่อาจพัฒนาไปสู่การเป็น
                    สถาบันทางการเมือง และไปถึงสภาพที่พึงประสงค์ตามทฤษฎีพรรคการเมือง
                    ดังกล่าวได้ นี่คือปัญหาของระบบพรรคการเมืองไทย


                          สาเหตุหลักประการหนึ่งของปัญหานี้คือ การขาดกลไกที่เสริมสร้างความเป็น
                    ประชาธิปไตยในพรรคการเมือง และความไม่ต่อเนื่องของการพัฒนาประชาธิปไตย
                    ในพรรคการเมือง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่กฎหมายเปิดช่องให้พรรคการเมือง

                    ถูกยุบหรือถูกสั่งให้สิ้นสภาพไปได้ง่ายจนเกินไป ยิ่งไปกว่านั้น หากเป็นพรรคการเมืองที่
                    ก่อตั้งขึ้นโดยกลุ่มบุคคลที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองร่วมกันและเป็นพรรคที่มีโครงสร้าง
                    และการบริหารงานภายในเป็นประชาธิปไตยอยู่บ้างแล้ว แม้ในความเป็นจริงจะมีอยู่
                    เพียงไม่กี่พรรคก็ตาม การยุบพรรคการเมืองก็ยิ่งถือเป็นมาตรการที่กระทบต่อเสรีภาพ

                    ในการจัดตั้งพรรคการเมืองและดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของสมาชิกพรรคการเมือง
                    นั้นๆ อย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากการยุบพรรคเป็นผลมาจากกระทำผิด
                    กฎหมายเลือกตั้งหรือกฎหมายพรรคการเมืองโดยกรรมการบริหารหรือสมาชิกพรรค
                    เพียงไม่กี่คน


                          ดังนั้น จึงจำเป็นต้องศึกษาในเบื้องต้นว่า หลักเกณฑ์การยุบพรรคและการสิ้น
                    สภาพพรรคการเมือง ทั้งที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ในกฎหมายเลือกตั้ง

                    และในกฎหมายพรรคการเมือง และที่เป็นผลจากการตีความโดยศาลรัฐธรรมนูญ
                    เป็นหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมและเอื้อต่อการพัฒนาพรรคการเมืองไทยหรือไม่ ตลอดจน
                    เป็นหลักเกณฑ์ที่ละเมิดเสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมืองและดำเนินกิจกรรมทาง
                    การเมืองของประชาชนมากเกินสมควรหรือไม่


                          อนึ่ง ไม่เพียงแต่เฉพาะรัฐธรรมนูญไทยนับตั้งแต่ฉบับ พ.ศ. 2489 เป็นต้นมาจนถึง
                    ฉบับปัจจุบันได้รับรองเสรีภาพดังกล่าวไว้เท่านั้น แต่ยังได้รับการรับรองเสรีภาพดังกล่าว
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40