Page 224 - kpi11890
P. 224

บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า’ 52
        222


              ระหว่างกันต่อไป ดังนั้น จึงได้มีความร่วมมือระหว่างกันของนักวิชาการศึกษาของ
              อำเภอภูเพียง จังหวัดน่านจำนวน 7 คน นักวิชาการการศึกษาอำเภอเมืองน่าน
              จำนวน 10 คน ผู้ดูแลเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอำเภอเมืองน่านจำนวน 68 คน และ
              ผู้ดูแลเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอำเภอเมืองน่านจำนวน 35 คน ทั้งหมดมาจาก

              องค์การบริหารส่วนตำบล 17 แห่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อส่งเสริมความรู้
              ผู้ดูแลเด็กในเรื่องการพัฒนาเด็กทั้งกาย ใจ และสติปัญญา และ (2) เพื่อให้ผู้ดูแล
              เด็กในเขตอำเภอเมืองน่านและอำเภอภูเพียงได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านวิชาการ

              ประสบการณ์ระหว่างกัน

                    นอกจากความร่วมมือในการอบรมจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
              ทั้ง 17 แห่งแล้ว ยังได้รับความร่วมมือในการให้ความรู้ความเข้าใจในการอบรมจาก

              เครือข่ายอื่นๆ เช่น กลุ่มพัฒนาความร่วมมือทันตสาธารณสุขระหว่างประเทศ
              สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน และโรงพยาบาลน่านอีกด้วย
        ด้านด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม
                    9 สิงหาคม พ.ศ.2550 ได้จัดทำ “โครงการหนูน้อยฟันดี” ซึ่งเป็นกิจกรรม
              ส่งเสริมสุขภาพทางช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยมีหลักการ
              และเหตุผลว่าโครงการดูแลสุขภาพในช่องปากเด็ก อายุ 0-5 ปี ได้ผ่านมาเป็นระยะ
              เวลาอย่างต่อเนื่องจำนวน 2 ปีแล้ว ดังนั้นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลผาสิงห์จึงได้จัด

              กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพทางช่องปาก เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและเกิดผลดีแก่เด็ก
              และเพื่อเป็นการกระตุ้น ส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติเกี่ยวกับสุขภาพ
              ในช่องปากของเด็กให้กับผู้ปกครองอย่างต่อเนื่อง และเป็นการต่อยอดโครงการ
              ที่เคยปฏิบัติมา เพื่อกระตุ้นให้ผู้ปกครองได้มีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง ซึ่งมี

              วัตถุประสงค์เพื่อ (1) ส่งเสริมความเข้าใจและความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก
              ระหว่างศูนย์พัฒนาเด็กเล็กผู้ปกครองและชุมชน (2) ส่งเสริมให้ผู้ปกครองได้
              ตระหนักและให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพช่องปากให้กับบุตรหลานของตนเอง
              (3) เพื่อเป็นโครงการต่อเนื่องและต่อยอดให้การดูแลสุขภาพทางช่องปากเด็กให้มี

              ประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล และ(4) เพื่อให้ชุมชนและผู้ปกครองเด็กได้มี
   219   220   221   222   223   224   225   226   227   228   229