Page 220 - kpi11890
P. 220
บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า’ 52
21
2) เมื่อได้ข้อมูลเชิงลึกแล้ว เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จึงส่งผลรายงานถึง
กลุ่มงานทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน องค์การบริหาร
ส่วนตำบลผาสิงห์ และในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2548 สาธารณสุขจังหวัดน่านได้
ส่งทีมทันตแพทย์ชุดแรกมาปฏิบัติการทาฟลูออไรด์ ครั้งที่ 1 ให้กับเด็กอายุ
0-5 ปี จำนวน 110 คน ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านผาตูบ และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
บ้านผาสิงห์ และในวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ปฏิบัติการทำเคลือบหลุมปิด
คลุมร่องฟัน ให้กับเด็กอายุ 0-5 ปี จำนวน 110 คน ณ ศูนย์ทันตกรรมจังหวัดน่าน
นอกจากนั้นได้ให้องค์การบริหารส่วนตำบลผาสิงห์ประสานเครือข่ายไปยังกลุ่ม
ผู้ปกครอง ครูพี่เลี้ยงเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย
ต่างๆ ในพื้นที่ เพื่อให้ได้รับทราบผลการสำรวจจากสาธารณสุขก่อนในขั้นเบื้องต้น
จนกระทั่งผู้ปกครองได้เห็นผลสำรวจแล้ว จึงขอให้องค์การบริหารส่วนตำบลผาสิงห์
เปิดประชุมเพื่อพูดคุยถึงปัญหาและหาวิธีแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน ในวันที่ 18
ตุลาคม พ.ศ. 2548 โดยจัดตั้งเป็น “กลุ่มเครือข่ายสาธารณสุขภายใต้โครงการ
ด้านด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม
ส่งเสริมทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียน” และเริ่มรวมพลังกันระหว่างเครือข่ายเพื่อ
คิดค้นหาโครงการและกิจกรรมต่างๆ ให้แก่เด็กเล็ก เพื่อนำร่องในการแก้ไขปัญหา
ในระยะเริ่มแรก โดยร่วมกันวางแผนจัดทำแผนการดำเนินงาน และประชุมอีกครั้ง
เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2548
3) จากนั้นก็ได้คัดเลือก “แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขภายใน
หมู่บ้าน” เพื่อเข้ามาช่วยเหลือโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียน ที่มา
จากความสมัครใจจากชาวบ้านในชุมชนทั้งที่เป็นผู้ปกครองและไม่ได้เป็นผู้ปกครอง
ของเด็กเล็ก โดยไม่ได้รับค่าตอบแทนใดๆ ซึ่ง ณ ปัจจุบัน (วันที่ 30 เมษายน
พ.ศ.2553) มีอาสาสมัครจำนวน 15 คน ซึ่งมีหน้าที่เฝ้าระวังและคอยตรวจตราการ
บริโภคของเด็กเล็กว่าอยู่ในสภาวะสุ่มเสี่ยงให้เกิดโรคฟันผุหรือไม่ จนกระทั่งมี
ทักษะเพียงพอที่จะสามารถตรวจสุขภาพช่องปากเด็กเล็กได้ด้วยตนเองว่ามีฟันผุ
หรือไม่