Page 140 - kpi11890
P. 140
บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า’ 52
1
3) ส่งเสริมงานสวัสดิการชุมชน
4) ส่งเสริมการจัดตั้งสหกรณ์เพื่อการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัย
5) การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานเครือข่ายฯ เพื่อช่วยยกระดับศูนย์การ
เรียนรู้สู่งานวิจัยการพัฒนาที่อยู่อาศัย รวมทั้งการติดตาม ประเมินผล
และส่งเสริมให้เกิดการบริหารจัดการที่ดี
6) การจัดตั้งธนาคารขยะรีไซเคิลในชุมชน
7) การพัฒนาโครงการสินเชื่อเพื่อการพัฒนาด้านที่อยู่อาศัย ด้านด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม
ลักษณะการดำเนินงานของเครือข่าย
เทศบาลนครเชียงรายได้ใช้การบริหารงานแบบเครือข่าย ภายใต้ลักษณะ
การทำงานที่เน้น “กระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมคิด ร่วมทำ นำความสุขสู่
ชุมชน” โดยเชิญชวนทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการพัฒนา
“บ้านมั่นคง” ให้เกิดความยั่งยืนและประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนมีตั้งแต่หน่วยงานระดับชาติ ระดับภูมิภาค
ระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่น ที่จะต้องส่งตัวแทนเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน
ของการดำเนินงาน ในการดำเนินการโครงการ “บ้านมั่นคง”
พบว่ามีหน่วยงาน
ภาคี/ภาคส่วนต่างเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินงานดังนี้
1) องค์กรชุมชน ทั้งระดับชุมชนและเครือข่ายองค์กรชุมชนถือเป็นกลไก
หลักในการทำงานและการจัดการ ทั้งนี้เพราะชุมชนเป็นเจ้าของปัญหาและรับรู้ถึง
ความต้องการของตนเอง จึงถือว่าสำคัญอย่างยิ่งในการดึงชุมชนมาเป็นแนวร่วมใน
การกำหนดแผนงาน การดำเนินงาน การติดตามประเมินผลการพัฒนาโครงการ
“บ้านมั่นคง” ของเทศบาลนครเชียงรายให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
2) หน่วยงานระดับท้องถิ่น ได้แก่ เทศบาลนครเชียงราย องค์กรพัฒนา
เอกชน นักวิชาการจากสถาบันการศึกษา หน่วยงานของรัฐและเอกชนในท้องถิ่น
อาทิ ราชพัสดุ การไฟฟ้า การประปา เป็นต้น เป็นหน่วยงานหลักที่จะมีส่วนร่วม