Page 139 - kpi11890
P. 139
บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า’ 52
1 2
สถานศึกษา เสียค่าเดินทางเพิ่มต้องสร้างชีวิตและสังคมใหม่ เกิดภาระค่าใช้จ่าย
ค่อนข้างสูงในการซื้อที่ดินและก่อสร้างบ้าน แต่ชาวบ้านมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและการ
อยู่อาศัย สามารถพัฒนาสภาพแวดล้อมชุมชนใหม่ได้เต็มที่
นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 เทศบาลดำเนินโครงการด้วยการชี้แจงทำความ
เข้าใจ ให้ความรู้และลงมือปฏิบัติในพื้นที่เพื่อให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับ
ระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย และสิทธิที่พึงมีพึงได้เกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
รวมทั้งแนวทางการมีส่วนร่วมในการพัฒนาที่อยู่อาศัยในชุมชนให้กับประชาชน
ทั้งภายในระดับครัวเรือน ระดับตำบลและระดับเครือข่าย
สำหรับการขับเคลื่อนโครงการบ้านมั่นคงนั้น มีการแต่งตั้งคณะทำงาน
แต่ละระดับ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาของผู้เดือดร้อนด้านที่อยู่อาศัยของ
ประชาชนในเขตเทศบาลนครเชียงราย ซึ่งการแต่งตั้งคณะทำงานจะคลอบคลุมทุก
ภาคส่วนและทุกระดับ เช่น การแต่งตั้งคณะทำงานโครงการบ้านมั่นคงไทยเข้มแข็ง
ด้านด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม
ภาคเหนือ คณะทำงานโครงการบ้านมั่นคงไทยจังหวัดเชียงราย คณะทำงาน
โครงการบ้านมั่นคงไทยของเทศบาลนครเชียงราย และผู้นำเครือข่ายบ้านมั่นคง
เมืองเชียงราย ซึ่งคณะทำงานของภาคประชาชนในชุมชนจะส่งผู้แทนจากแต่ละ
ชุมชนๆ ละ 4 คน เข้ามาเป็นคณะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยเมืองเชียงราย
ปัจจุบันเครือข่ายบ้านมั่นคงเชียงรายได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยไปแล้ว
7 ชุมชน จาก 37 ชุมชนที่มีปัญหาด้านที่อยู่อาศัย ได้แก่ ชุมชนรอยพระพุทธบาท
ชุมชนดอยพระบาท ชุมชนสันป่าก่อเหนือ ชุมชนราชเดชดำรง ชุมชนวัดพระแก้ว
ชุมชนดอยทอง และอบต.เมืองพาน ซึ่งแผนการขับเคลื่อนในปี พ.ศ.2553 เพื่อให้
เกิดความต่อเนื่องและเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ซึ่งเทศบาลนครเชียงราย
ได้กำหนดไว้ในแผนแม่บทปี 2553 โดยมีรายละเอียดของโครงการต่อเนื่องดังนี้
1) การสำรวจข้อมูลเบื้องต้นของประชาชนที่เดือดร้อนเรื่องที่อยู่อาศัยใน
เขตเทศบาลนครเชียงราย
2) การสำรวจที่ดินสาธารณะในชุมชน เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาที่ดินใน
รูปแบบโฉนดชุมชน