Page 263 - kpi10440
P. 263
คู่ มื อ ส ม า ชิ ก ส ภ า ท้ อ ง ถิ่ น
8.2.2 รายได้จากการจัดสรรภาษีที่รัฐบาลเก็บให้หรือแบ่งให้ท้องถิ่น
1) ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ภาษีที่เก็บจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการส่วนที่เพิ่ม
ขึ้นในแต่ละขั้นตอนของการผลิตและการจำหน่ายสินค้าหรือบริการชนิดต่าง ๆ ผู้ที่มีหน้าที่
เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ ผู้ผลิต ผู้ให้บริการ ผู้ขายส่ง ผู้ขายปลีก ตลอดจนผู้นำเข้าและ
ส่งออก ฐานภาษีได้แก่ มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับจากการขาย
สินค้าหรือการให้บริการ สำหรับประเทศไทยนั้น เริ่มใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535
แทนภาษีการค้า เพื่อลดปัญหาความยุ่งยากซับซ้อน และที่สำคัญที่สุดคือป้องกันการหลบ
หนีภาษีได้เป็นอย่างดี
การจัดเก็บ จะดำเนินการโดยกรมสรรพากร ซึ่งจะหักค่าบริการจัดเก็บ
5% แล้วนำส่งให้กระทรวงมหาดไทย เพื่อจัดสรรให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ
พ.ร.บ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. 2542 ซึ่งจะยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มที่เก็บจากเมืองพัทยา เมืองพัทยาจะได้รับโดยเต็ม
จำนวนที่เก็บได้ในเมืองพัทยา
2) ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ภาษีธุรกิจเฉพาะ คือ ภาษีที่เก็บจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการของ
ผู้ประกอบการที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของภาษีมูลค่าเพิ่ม
การจัดเก็บจะกระทำในลักษณะเดียวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ กรมสรรพกร
จัดเก็บแล้วหักค่าบริการ 5% แล้วนำส่งกระทรวงมหาดไทย เพื่อจัดสรรให้แก่องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นต่อไป (จัดสรรภายใต้ พ.ร.บ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจาย
อำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542
3) ภาษีสุราและเบียร์
ภาษีสุราและเบียร์ เป็นภาษีสรรพสามิตชนิดหนึ่งที่จัดเก็บตาม พ.ร.บ.
2 สถาบันพระปกเกล้า