Page 21 - kpi10440
P. 21
คู่ มื อ ส ม า ชิ ก ส ภ า ท้ อ ง ถิ่ น
สภาพการณ์ที่ผ่านมาทำให้ประเทศไทยเสียโอกาสการพัฒนาในหลายเรื่อง
ทั้งด้านการพัฒนาประชาธิปไตยและการพัฒนาประเทศ เพราะการรวมศูนย์อำนาจ
(Centralization) ที่ผ่านมา ถึงแม้อาจช่วยให้การนำนโยบายของรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติใน
ระดับพื้นที่ในมาตรฐานเดียวกัน หากแต่การรวมศูนย์อำนาจทำให้เกิดการกระจุกตัวของ
ความเจริญ ทั้งเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง และทำให้เกิดการพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมกัน
ดังคำกล่าวของ ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวนิช ที่ว่า
“การปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจเปรียบเหมือนห้องใหญ่ๆที่มีดวงไฟเพียงดวง
เดียวส่องสว่างอยู่กลางห้อง แม้ดวงไฟนั้นจะสว่างสักเพียงใดย่อมไม่สามารถทำให้ทุก
ซอกทุกมุมของห้องได้รับแสงสว่างอย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกันได้ การกระจายอำนาจ
เปรียบเหมือนการจุดไฟดวงเล็กๆ ขึ้นทั่วทุกมุมห้อง แม้จะเป็นดวงไฟเล็กๆ แต่ก็ทำให้
แสงสว่างได้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั้งห้อง”
นอกจากนั้นการรวมศูนย์อำนาจปิดโอกาสการพัฒนาศักยภาพของทั้งพื้นที่และ
ทรัพยกรบุคคล การเรียนรู้ทางการเมือง รวมทั้งละเลยวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
ด้วยสภาพปัญหาเหล่านี้ ประกอบกับบริบทของสังคมและประเทศเปลี่ยนแปลงไปเข้าสู่ยุค
โลกาวิวัฒน์ โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ปัญหาและความท้าทายใหม่ที่เกิดขึ้น
สะท้อนให้เห็นความจำเป็นของการกระจายอำนาจ ดังนั้นการกระจายอำนาจสู่องค์กร
ปกครองท้องถิ่นจึงมิได้เป็นเหตุผลทางการเมือง และสังคมเท่านั้น หากเป็นความจำเป็น
ของการกระจายอำนาจทางเศรษฐกิจด้วย
ดังจะเห็นจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจช่วง พ.ศ. 2540 ที่ส่งผลประเทศไทยต้อง
ปรับตัว โดยเฉพาะการปฏิรูปทางการเมืองและการบริหาร รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540
นับเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นอย่างชัดเจน มีการบัญญัติรับรองความอิสระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองท้องถิ่นไทยทั้งระบบ ตั้งแต่โครงสร้าง (เช่น
การยกเลิกสุขาภิบาล) อำนาจหน้าที่ที่เพิ่มขึ้น จากการถ่ายโอนภารกิจสู่องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น รายได้ที่เพิ่มขึ้น และการเพิ่มความอิสระในการบริหารงานบุคคล รวมทั้งเพิ่ม
กลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยตรง การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ส่งผลให้เกิดกระแส
สถาบันพระปกเกล้า