Page 85 - kpi11663
P. 85
ในการแบ่งปันน้ำของคนในพื้นที่ อีกทั้งยังมีการนำภูมิปัญญาชาวบ้านเข้ามาร่วมในการบริหาร
จัดการน้ำ ได้แก่ การปิดเปิดประตูน้ำโดยใช้วิธีการลักน้ำ การสร้างฝายไม้ซาง และการสร้าง
ปงเทียม
จุดเด่นอีกประการหนึ่งของโครงการนี้ คือ ความต่อเนื่องและความคิดสร้างสรรค์ในการ
แก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ ซึ่งจะเห็นได้ว่า องค์การบริหารส่วนตำบลมีความมุ่งมั่นในการจัดการปัญหา
และพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลผลผลิตและผลลัพธ์ของโครงการอย่างเป็นระบบ
ในขณะเดียวกัน องค์การบริหารส่วนตำบลมีความพยายามลดความขัดแย้งในการใช้น้ำของคนใน
ชุมชน ด้วยการสร้างความร่วมมือกับผู้นำชุมชนที่มีความเข้มแข็งและสนับสนุนการทำงานของ
ท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหา จึงทำให้โครงการแผนที่น้ำชุมชนหรือแผนที่น้ำพลิกฟื้นคืนชีวิต
(Map Water to Stable Life : Tapamok Model) สร้างความสุขให้แก่ประชาชนตำบล
ต้าผามอก มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2559 จนถึงทุกวันนี้ และสร้างรายได้ด้านการเกษตรให้กับประชาชน
เป็นอย่างมาก โดยเปรียบเทียบระหว่างปี 2555 รายได้ 49,500,000 บาท จำนวน 1,300 ครัวเรือน
เฉลี่ยรายได้/ครัวเรือน 38,076.92 บาท กับ ปี 2559 รายได้ 166,520,00 บาท จำนวน 1,500 ครัวเรือน
เฉลี่ยรายได้/ครัวเรือน 111,013.33 บาท) (อ้างอิงข้อมูลจาก : ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน
กรมพัฒนาชุมชน // LSEP กรมส่งเสริมการปกครอง //การรับซื้อจากลานตากพืชผลการเกษตร
3 แห่ง และการเหมืองแร่ ศศิน จำกัด)
โครงการขยะล้างจาน บริการด้วยชุมชน
เริ่มจากพบว่าปัญหาขยะในปัจจุบันมีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องมาจากพื้นที่ตำบลต้าผามอก
มีจำนวนประชากร 4,616 คน 1,616 ครัวเรือน 8 หมู่บ้าน เฉลี่ยการจัดการขยะของประชากรวันละ
4 ตัน (เฉลี่ยเมื่อปี พ.ศ.2558) ทำให้เกิดปัญหาขยะล้นพื้นที่ เกิดการเผา และยังส่งผลกระทบต่อ
ปัญหาโลกร้อน สภาวะเรือนกระจก อีกทั้งกลิ่นเน่าเหม็นของขยะ ควันที่เกิดจากการเผ่าเป็นการ
ทำลายบรรยากาศในการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับนักเรียนโรงเรียน
บ้านน้ำริน หมู่ 2 และพื้นที่ที่มีหลุมขยะ เช่น (หมู่ 1 บ้านผามอก) (หมู่ 4 บ้านเกี๋ยงพา) (หมู่ 5
บ้านอิม) ซึ่งมีการวิเคราะห์แนวโน้มในอนาคตแล้วว่าปัญหาดังกล่าวจะเกิดเป็นวิกฤติในพื้นที่อย่าง
หลีกเลี่ยงไม่ได้อย่างแน่นอน และประชาชนในตำบลต้าผามอกจะต้องรับผลกระทบของปัญหา
รางวัลพระปกเกล้า’ 60