Page 81 - kpi11663
P. 81

0


             คนในตำบล การดำเนินการบริการสาธารณะย่อมต้องอาศัยประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วม
             ในฐานะเจ้าของแผ่นดินเกิด”

                  สำหรับโครงการหรือกิจกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นเลิศ ด้านความโปร่งใสและ
             การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลต้าผามอก ได้แก่



             โครงการแผนที่น้ำชุมชนหรือแผนที่น้ำพลิกฟื้นคืนชีวิต
             (Map Water to Stable Life : Tapamok Model)


                  แผนที่น้ำชุมชนหรือแผนที่น้ำพลิกฟื้นคืนชีวิต  (Map Water to Stable Life :
             Tapamok Model) เป็นโครงการต่อยอดจากโครงการเดิม (โครงการบริหารจัดการ “ลำน้ำแม่ต้า”
             แบบมีส่วนร่วม) ที่ได้ริเริ่มในปี พ.ศ. 2555 เนื่องจากที่ผ่านมาชุมชนต้าผามอกประสบปัญหาภัย
             แล้งอย่างหนัก ทั้งขาดแคลนน้ำสำหรับอุปโภคและบริโภค รวมถึงน้ำสำหรับใช้ในการเกษตร และ
             ความแห้งแล้งก็ทวีความรุนแรงขึ้น จนกระทั่งเกิดความเสียหายทางการเกษตรมากกว่า 20,000 ไร่
             ที่ต้องเผชิญความแห้งแล้งจากลำน้ำแม่ต้า ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วปริมาณน้ำที่ใช้ของคนในพื้นที่

             ประมาณ 228,000 ลิตร/วัน (ค่าเฉลี่ย 49 ลิตร/คน/วัน จากประชากร 4,616 คน) น้ำที่ใช้
             ในการเกษตรประมาณ 17,497,100 ลูกบาศก์เมตร /ปี (อ้างอิงข้อมูลจาก : การประปานครหลวง
             การประปาส่วนภูมิภาค)  อีกทั้งพื้นที่ของตำบลต้าผามอกยังตั้งอยู่นอกเขตชลประทาน จึงจำเป็น
             ที่จะต้องจัดการปัญหาในการบริหารจัดการน้ำด้วยตนเอง ฉะนั้น เมื่อชุมชนต้องขาดน้ำที่เป็น
             ทรัพยากรสำคัญ จึงเกิดผลเสียตามมาอีกมากมาย เช่น การที่ประชาชนในชุมชนต้าผามอกต้อง

             ว่างงานในฤดูกาลเก็บเกี่ยวประมาณร้อยละ 80 ทำให้ต้องอพยพไปหางานที่อื่นร้อยละ 10 และ
             มีอีกร้อยละ 10 ที่หาอาชีพใหม่ในชุมชน เช่น ตัดไม้ ถางพื้นที่ป่าสงวนเพื่อทำการเกษตรพืช
             ใช้น้ำน้อย ฯลฯ

                  เพื่อแก้ปัญหาของคนในพื้นที่ ทางองค์การบริหารส่วนตำบล จึงมีการจัดทำฝายถาวรใน
             ลำน้ำแม่ต้า จำนวน 2 ฝาย แต่ก็ยังไม่สามารถกักเก็บน้ำได้อย่างทั่วถึง จนในท้ายที่สุดจึงเกิด

             กระบวนการจัดการปัญหา โดยให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการปัญหา ด้วยการระดม
             ความคิดของประชาชน ผลปรากฏว่าความต้องการ เรื่อง “น้ำ” มาเป็นลำดับแรก ทางองค์การ
             บริหารส่วนตำบล จึงได้ดำเนินการแยกการจัดการออกเป็น 3 ส่วน คือ (1) การจัดหาน้ำ (2) การกัก
             เก็บน้ำ และ (3) การแบ่งปันน้ำ เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาในระยะหนึ่ง

             รางวัลพระปกเกล้า’ 60
   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86