Page 84 - kpi11663
P. 84
กระบวนการถอดบทเรียน
ก่อน ปี 2520 ปี 2521-2545 ปี 2545-2555 ปี 2555-2560
“ยุคครอบครัวอบอุ่น” “ต้าผามอกล่มสลาย” “การพัฒนาอย่างไร้ทิศทาง” “ปีแห่งการพลิกฟื้นชุมชน”
ระบบนิเวศน์ เกิดวิกฤติระบบนิเวศน์ มีการศึกษา วิเคราะห์ ดำเนินการแก้ไข
มีความสมบูรณ์ ดิน น้ำ และป่า ลองผิดลองถูก อย่างเป็นระบบ
ลำน้ำแม่ต้าและห้วยสาขา ส่งผลต่อประชาชน อย่างต่อเนื่อง โดยได้รับความร่วมมือ
มีจำนวนเยอะมาก ต้องอพยพออกจาก จากทุกภาคส่วน
ดินมีคุณภาพดี พื้นที่ ในการร่วมจัดทำ
และพื้นที่ป่ามีถึง 90% แผนที่น้ำชุมชน
ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำได้อย่างยั่งยืน คือ การดำเนินงาน
ที่ครอบคลุมทั้งระบบดิน น้ำ ป่า เพื่อที่จะสร้างธรรมชาติที่สมบูรณ์ขึ้นก่อน จนไปถึงกระบวนการ
เมื่อมีน้ำสำหรับใช้อุปโภค และบริโภคแล้วก็ยังนำมาจัดสรรแบ่งปันด้วยวิธีแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน
ด้วยตนเอง (ทำปงเทียมกักเก็บน้ำ) ทั้งนี้ก็ด้วยความเสียสละของประชาชนในพื้นที่ตำบลต้าผามอก
ที่ให้ความร่วมมือในการทวงคืนผืนป่า รวมถึงความพร้อมของพื้นที่ในการดำเนินการ และ
ความเข้าใจของประชาชนในระดับพื้นที่ จนนำไปสู่กระบวนการเรียนรู้ข้อมูลแผนที่น้ำชุมชน
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยภายนอกที่ช่วยสนับสนุน ซึ่งได้แก่ ด้านบุคลากร ด้านวิชาการ
ด้านงบประมาณ ด้านเครื่องจักร ล้วนแล้วก่อให้เกิดความร่วมมือแบบบูรณาการ จนเกิดภาพ
การทำงานแบบแนวดิ่งและแนวราบ
โครงการแผนที่น้ำชุมชนหรือแผนที่น้ำพลิกฟื้นคืนชีวิต คือ การร่วมจัดการปัญหาด้วย
ตนเองภายในชุมชนและเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในทุกกระบวนการแก้ไขปัญหา
จนประสบความสำเร็จ และโครงการนี้ยังได้สะท้อนให้เห็นถึงวิธีคิดในการแก้ไขปัญหา เรื่อง
“การจัดการน้ำในชุมชนอย่างเป็นระบบ” โดยเริ่มตั้งแต่การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ
ปริมาณน้ำตามธรรมชาติ การสำรวจความต้องการใช้น้ำ ปริมาณน้ำที่ใช้อุปโภคและบริโภค
ในครัวเรือน และเพื่อการทำการเกษตรอย่างเป็นระบบผ่านบัญชีการใช้น้ำ ตลอดจนความสามารถ
ในการจัดการน้ำระดับชุมชนผ่านแผนที่น้ำชุมชน โดยยึดหลักความยุติธรรมและความเสมอภาค
รางวัลพระปกเกล้า’ 60