Page 88 - kpi11663
P. 88

ปัจจัยแห่งความสำเร็จของโครงการขยะล้างจาน บริการชุมชน เริ่มจากในอดีตประชาชน
              ต่างคิดว่าพวกเขาจ่ายค่าธรรมเนียมการจัดเก็บค่าขยะมูลฝอยเดือนละ 20 บาทไปแล้ว ดังนั้น
              จึงไม่ใช่หน้าที่ของพวกเขาที่จะต้องแยกขยะจากครัวเรือน แต่เมื่อเกิดปัญหาขยะล้นในพื้นที่
              (ประชาชน องค์การบริหารส่วนตำบล ส่วนราชการ วัด) จึงหันมาตระหนักและดำเนินการแก้ไข
              ปัญหา โดยยึดหลักชุมชนจัดการตนเองเพื่อทลายกำแพงการทำงานระหว่างท้องที่ (กำนัน/

              ผู้ใหญ่บ้าน) กับท้องถิ่น (องค์การบริหารส่วนตำบล) ผ่านการสร้างความเข้าใจร่วมคิด ร่วมทำกัน
              อย่างมีส่วนร่วม เปิดเผยและโปร่งใส มุ่งเน้นผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นแก่ประชาชนในตำบลเป็นหลัก
              และดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องจนในปัจจุบัน “ถังขยะ” ภายในหมู่บ้านไม่มีความจำเป็นกับ
              ประชาชนอีกต่อไป

              สิ่งที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ


                     (1)  ปริมาณขยะจากต้นทาง (ครัวเรือน) จากสถิติการจดบันทึก ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน
                       พ.ศ.2558 จนถึงปัจจุบัน (เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2560) สามารถคัดแยกขยะพลาสติก
                       ออกมาได้ประมาณ 3,000 กิโลกรัม และคาดว่าปี 2560 สามารถคัดแยกขยะพลาสติก
                       ออกจากครัวเรือนและหลุมขยะได้ไม่ต่ำกว่า 4,000 กิโลกรัม

                     (2)  ผลการสอบถามประชาชนในตำบลประมาณ 1,300 ครัวเรือน โดยใช้แบบสอบถามพบ

                       ว่าครัวเรือนมีการแยกขยะที่เหลือใช้ เฉลี่ยเดือนละ 5 กิโลกรัม (1,300 x 5 = 6,500)
                       ประมาณ 6.5 ตัน

                     (3)  จากสถิติการคัดแยกขยะจากการคัดแยกระหว่างเก็บขนขยะ ก่อนนำขยะไปทิ้งในหลุม
                       ขยะเฉลี่ยวันละ 20 กิโลกรัม เดือนละประมาณ 520 กิโลกรัม (หยุดอาทิตย์ละ 1 วัน)

                    (4)  ตามที่สอบถามและการสำรวจขยะส่วนใหญ่ที่เหลือจากการคัดแยก ส่วนใหญ่เป็นขยะ

                       ย่อยสลายประมาณร้อยละ 50-70 ทางองค์การบริหารส่วนตำบลได้ประชาสัมพันธ์และ
                       รณรงค์ให้ทุกครัวเรือนได้ดำเนินการทำเสวียนรอบต้นไม้ จากผลการสำรวจมีหมู่บ้าน
                       (ผู้ใหญ่บ้าน) แจ้งมายังองค์การบริหารส่วนตำบล มีการจัดทำเสวียนรอบต้นไม้ทั้ง
                       ตำบลประมาณ 700 กว่าครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 55.15

                    (5)  ลดปัญหามลพิษด้านการเผาพลาสติกและการเผาขยะอื่นๆ ได้ ต่อเดือนประมาณ

                       เดือนละ 6.5 ตัน

                                                                  รางวัลพระปกเกล้า’ 60
   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93