Page 233 - kpi11663
P. 233
2 2
งบประมาณ เครื่องจักรกล สำหรับใช้ในการบรรเทาภัยแล้งดังกล่าว เพื่อเป็นการแก้ปัญหา
เฉพาะหน้าในระยะแรก
ระยะที่ 2 การลงทุนการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง
หลังจากที่เกิดการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเบื้องต้นแล้ว ทางองค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปา
มีหน้าที่ในการวางแผนที่จะเตรียมความพร้อมในการรับมือกับปัญหาภัยแล้งในอนาคต โดยการขอ
อนุมัติงบประมาณในการดำเนินโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง เช่น การจัดซื้อถังเก็บน้ำ จัดซื้อ
เครื่องสูบน้ำ ดำเนินโครงการเจาะบ่อน้ำบาดาล โครงการซ่อมแซมท่อส่งน้ำ โครงการปรับปรุง
ซ่อมแซมปะปาหมู่บ้านสร้างสถานีสูบน้ำด้วยพลังไฟฟ้า เป็นต้น
ระยะที่ 3 การแก้ไขปัญหาแบบกลุ่ม (การบริหารจัดการน้ำระยะยาว)
เมื่อองค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปา มีความพร้อมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ตาม
การดำเนินงานในระยะที่ 2 แล้วนั้น ในระยะที่ 3 จึงเป็นการแบ่งหน้าที่การทำงานของเครือข่าย
ในการดูแลและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งในระยะยาว ในขั้นตอนนี้ได้แบ่งหน้าที่
ออกเป็นสองส่วนตามอำนาจหน้าที่ของเครือข่ายที่สามารถทำได้ คือ 1) การดูแลแหล่งน้ำและ
การบริหารจัดการการใช้น้ำในตำบล โดย คณะกรรมการเหมืองฝาย / กลุ่มผู้ใช้น้ำ มีหน้าที่ในการ
บริหารจัดการน้ำ เป็นผู้ควบคุมการใช้น้ำและซ่อมแซมฝาย โดยมีกฎระเบียบในการเก็บค่า
ธรรมเนียม เพื่อใช้ในการดูแลรักษาแหล่งน้ำของตนเอง ซึ่งหากพบปัญหา หรือต้องการความ
ช่วยเหลือ จะมีการประสานงานกับอบต.ข่วงเปาเพื่อขอคำปรึกษา หรือประสานงานขอความ
ช่วยเหลือไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ต่อไป เพื่อขอสนับสนุนเครื่องจักรกลและกำลัง
คนในการดำเนินงานแก้ไขปัญหา 2) การพัฒนาแหล่งน้ำ และต้นทุนน้ำ โดยมีองค์กรภาครัฐและ
ภาคเอกชนเป็นผู้ดูแลภารกิจดังกล่าว เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ สนับสนุน
งบประมาณขุดลอกอ่างเก็บน้ำ สนับสนุน บุคลากรและเครื่องจักรในการขุดลอกทรายแม่น้ำปิง
ขุดลอกลำห้วยและทางระบายน้ำ, หน่วยพัฒนาเคลื่อนที่ 36 ช่วยวางแผนพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่
ลงพื้นสำรวจข้อมูล ประชุมวางแผนจัดทำโครงการขุดอ่างเก็บน้ำเพื่อเป็นแหล่งน้ำสำรอง,
การประปาส่วนภูมิภาคอำเภอจอมทอง ให้ความช่วยเหลือในการแนะนำ ให้คำปรึกษา และ
ช่วยแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนในพื้นที่โดยการเสนอแนวทาง และแนะนำวิธีการใช้น้ำอย่าง
ประหยัดให้กับประชาชน, บริษัท ซีพีเอฟ จำกัด (มหาชน) ภาคเอกชนที่ให้ความร่วมมือในการ
รางวัลพระปกเกล้า’ 60