Page 228 - kpi11663
P. 228
22
การคัดแยกขยะที่ต้นทาง โดยมีแผ่นพับประชาสัมพันธ์/เผยแพร่กิจกรรมต่างๆ ของเทศบาลตำบล
กำแพง และกิจกรรมของเครือข่าย ซึ่งในอดีตเทศบาลตำบลกำแพงกำจัดขยะมูลฝอยแบบเทกอง
บนพื้น ซึ่งจะส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อมและสุขภาพของผู้คนในบริเวณนั้นจนเกิดข้อร้องเรียน
มากมาย เทศบาลจึงมีแนวคิดที่จะจัดการขยะโดยแบ่งการทำงานเป็น 3 ส่วน คือ การจัดการขยะ
ที่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง ซึ่งการจัดการที่ต้นทางของขยะเริ่มจากชุมชน การจัดการขยะที่
ต้นทางจึงเริ่มจากการทำให้ถนนสายหลักปลอดถังขยะและส่งเสริมให้ชาวบ้านมีการคัดแยกขยะ
ก่อนทิ้ง เมื่อเกิดการคัดแยกขยะ ปริมาณขยะที่ต้องเก็บขนซึ่งก็คือการจัดการที่กลางทางก็ลดลง
สุดท้ายจึงนำขยะที่เหลือมากำจัดยังปลายทางที่ “ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยแบบครบวงจร”
กระบวนการทำงานของศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยแบบครบวงจร เริ่มด้วยจากการรับขยะเข้าสู่
ระบบ ชั่งน้ำหนัก นำไปเทลงบนลานรับ แล้วใช้รถตักขยะป้อนเข้าสู่สายพานคัดแยกซึ่งมี 2 ชุด
โดยใช้ทั้งแรงงานคนและเครื่องจักรในการคัดแยก สำหรับขยะรีไซเคิลที่ถูกคัดแยกออกมานำมา
แยกประเภทต่อไป ส่วนขยะอินทรีย์จะถูกลำเลียงไปยังเครื่องย่อยอินทรีย์เพื่อปรับสภาพแล้วนำไป
ทำปุ๋ยหมัก ขยะอื่นๆ ที่เหลือ จะถูกนำไปฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล นอกจากนี้ยังมีการบำบัด
น้ำเสียภายในบ่อฝังกลบขยะ โดยใช้ระบบบำบัดแบบผึ่ง เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อนระบายออกสู่
คลองสาธารณะอีกด้วย หลังจากดำเนินการมาระยะหนึ่งเครือข่ายก็มีการต่อยอดกิจกรรมของ
ตนเอง เช่น โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดแยกขยะที่ต้นทางชุมชนนาโต๊ะพ่อ
โครงการ “ขยะแลกภาษี” ของตำบลนาทอน โครงการชาวอุใดเจริญหัวใจ Zero Waste (ลดขยะ
ลดโรค) ที่เน้นจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางด้วยหลักการ 3Rs คือ การลดการใช้ การใช้ซ้ำ และการนำ
กลับมาใช้ใหม่ โครงการนำขยะแลกไข่ ขององค์การบริหารส่วนตำบลละงู โครงการเขาขาวสะอาด
ปราศจากขยะด้วย 3Rs โครงการปากน้ำน่าอยู่สู่สังคมสีเขียว เป็นต้น ซึ่งแต่ละโครงการเมื่อดำเนิน
ไปได้ระยะหนึ่งพบว่าสามารถลดจำนวนขยะลงได้จริง หลายชุมชนปัจจุบันไม่มีถังขยะในพื้นที่แล้ว
เนื่องจากประชาชนให้ความสำคัญกับการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง ไม่เพียงเท่านั้นเทศบาลตำบล
กำแพงเองได้วางตัวเองเป็นเมืองหนึ่งใน “จังหวัดต้นแบบ สิ่งแวดล้อมยั่งยืน” ภายใต้โครงการ
“จังหวัดน่าอยู่ สู่สังคมสีเขียว” ในอนาคตด้วย
รางวัลพระปกเกล้า’ 60