Page 223 - kpi11663
P. 223

222


             ที่จัดกิจกรรมนั้นตรงกับช่วงเวลาที่เด็กๆในพื้นที่ปิดเทอมภาคฤดูร้อน กระทั่งเด็กๆ หลายคน
             มีความรู้สึกอยากเข้ามาประลองฝีมือและเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันในมหกรรมกีฬา
             อันมีเกียรตินี้ให้ได้ เทศบาลจึงมีแนวคิดที่จะระดมเครือข่ายภาคส่วนต่างๆ เข้ามาร่วมประชุม
             ปรึกษาหารือและมีส่วนร่วมในการจัดการแข่งขัน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในเขตเทศบาลตำบล
             กำแพงเองมีศักยภาพ และมีความพร้อมทั้งทางด้านงบประมาณ บุคลากรที่มีความสามารถ วัสดุ

             อุปกรณ์กีฬา จึงได้ร่วมกันดำเนินงานแบบภาคีเครือข่าย โดยจัดทำบันทึกข้อตกลง (MOU) ร่วมกัน
             ระหว่างเครือข่ายที่เข้าร่วมจัดกิจกรรม โดยมีนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูลเป็นประธาน

                  เครือข่ายที่ร่วมกันจัดงานให้มหกรรมกีฬาครั้งนี้กลับมาอีกครั้งตามคำเรียกร้องของ
             ประชาชนประกอบไปด้วย 5 แกนนำหลักด้วยกัน ได้แก่ 1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายใน
             จังหวัดสตูล จำนวน 9 แห่ง โดยมีเทศบาลเป็นศูนย์กลางในการประสานงาน  2. องค์กรธุรกิจ

             เอกชน จำนวน 17 แห่ง เช่น หจก.เกียรติเจริญชัยกรุ๊ป  บริษัท สิริแสงอะควาคัลเจอร์ จำกัด
             เจนสเตเดี้ยมสนามหญ้าเทียม ร้านยูโสบคานกลการ เป็นต้น 3. สมาคมส่งเสริมกีฬาจังหวัดสตูล
             4. ชมรมกีฬาเปตองจังหวัดสตูล 5. ภาคประชาสังคม จำนวน 8 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนซอยขนมจีน
             ชุมชนบ้านออกพัฒนา ชุมชนเทศบาล 1 ชุมชนเทศบาล 6 ชุมชนตลาดสดพัฒนา ชุมชนประชาบำรุง
             ชุมชนนาโต๊ะพ่อ และชุมชน 8-9 สัมพันธ์ ความพิเศษของเครือข่ายกีฬาจาบังเกมส์อยู่ที่ความร่วม
             มือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน เนื่องจากในช่วงปี พ.ศ.2558 เทศบาลตำบลกำแพงประสบปัญหา
             ด้านการเบิกจ่ายเงินจนทำให้ไม่สามารถจัดการแข่งขันได้ จึงเกิดความร่วมมือกับภาคเอกชนขึ้น

             ภาคเอกชนเองมีความเชี่ยวชาญและชำนาญด้านการจัดการแข่งขันกีฬา งบประมาณที่ใช้ประกอบไป
             ด้วยเงินระดมทุนจากเครือข่ายเอกชน จำนวน 21 แห่ง เป็นเงิน 235,000 บาท และเงินค่าสมัคร
             จำนวน 154,000 บาท รวมเป็นเงินจัดการแข่งขันทั้งสิ้น 389,000 บาท เงินส่วนนี้ถูกนำมาใช้ในการ
             บริหารจัดการแข่งขันทั้งหมดโดยเครือข่ายเอกชน โดยมีเทศบาลตำบลกำแพงทำหน้าที่เป็นฝ่าย
             สนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้การจัดงานเป็นไปได้โดยสะดวกลุล่วง เครือข่ายเอกชนทั้ง

             17 แห่งมีบทบาทที่สำคัญมากในการร่วมกันทำงานแบบระดมความคิด ร่วมแรงร่วมใจ และมีการ
             แบ่งหน้าที่ตามความชำนาญของแต่ละฝ่าย เพื่อให้การแข่งขันมีมาตรฐานที่สูงขึ้นและสามารถรองรับ
             ความนิยมที่เพิ่มขึ้นจากการจัดงานแต่ละครั้งได้

                  ด้านการดำเนินงาน เทศบาลตำบลกำแพงได้แบ่งคณะทำงานออกเป็น 11 ชุดด้วยกัน ได้แก่

                   1.  คณะกรรมการอำนวยการจัดการแข่งขัน มีนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล เป็น



             รางวัลพระปกเกล้า’ 60
   218   219   220   221   222   223   224   225   226   227   228