Page 221 - kpi11663
P. 221
220
เทศบาลตำบลกำแพง มีหลักการทำงานบนฐาน “ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา”
เปิดโอกาสให้ภาคประชาชน กลุ่มองค์กร ภาคีเครือข่ายต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงาน
เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างตรงจุด และสามารถแก้ไขปัญหาได้
อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การดำเนินงานโครงการต่างๆ ของเทศบาลอาศัยความร่วมมือ
ร่วมแรง ร่วมใจ ทั้งจากผู้บริหารเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาล พนักงานเทศบาล ผู้นำชุมชน
ประชาชน และกลุ่มภาคีเครือข่ายต่าง ๆ เข้ามาทำงานร่วมกัน สู่เป้าหมายแห่งความสำเร็จ ทำให้
ทุกคนมีความสุข สนุกกับงาน เกิดจิตสำนึกสาธารณะ รู้สึกถึงความเป็นเจ้าของท้องถิ่น และ
ร่วมพัฒนาเทศบาลให้เป็นเทศบาลที่น่าอยู่อย่างยั่งยืน หลักการบริหารงาน
เทศบาลตำบลกำแพงได้วางกรอบมิติการบริหารงาน ออกเป็น 6 มิติ เพื่อขับเคลื่อน
การทำงานให้ประสบความสำเร็จและตอบสนองความต้องการของประชาชน ได้อย่างตรงจุดและ
เต็มความสามารถ ได้แก่ 1. มิติด้านนิติธรรม มีการออกฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ให้ทันสมัย
เป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับ ไม่เลือกปฏิบัติ โดยสังคมพร้อมใจปฏิบัติตาม 2. มิติด้านความ
โปร่งใส มีการให้และรับข้อมูลที่สะดวกเป็นจริง ทันการณ์ เปิดเผย ชัดเจน เท่าเทียม และ
ตรวจสอบได้ 3. มิติด้านการมีส่วนร่วม โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ ร่วมคิด
เสนอความเห็น ตัดสินใจปัญหา และร่วมในการติดตามตรวจสอบ และรับผิดชอบต่อผล
การดำเนินงาน 4. มิติด้านรับผิดชอบตรวจสอบได้ เน้นความตั้งใจปฏิบัติภารกิจตามหน้าที่
โดยมุ่งให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่ผู้มารับบริการ และรับผิดชอบต่อความบกพร่อง
ในหน้าที่การงาน และพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไขได้ทันท่วงที 5. มิติด้านความคุ้มค่า มีการบริหาร
จัดการและใช้ทรัพยากรให้เกิด ประโยชน์คุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม 6. มิติด้าน
คุณธรรม มีการปลูกจิตสำนึกด้านคุณธรรมในองค์กร โดยให้บุคลากรของเทศบาลมีความยึดมั่น
ในความถูกต้องดีงาม สำนึกในหน้าที่ของตนเอง มีความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจ ขยัน อดทน
มีระเบียบวินัย และเคารพในสิทธิของผู้อื่น ไม่เพียงเท่านั้น จากหลักการทำงานบนฐาน “ยึด
ประชาชนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” นำมาสู่การออกแบบกระบวนการดำเนินงานโครงการและ
กิจกรรมต่างๆ ของเทศบาล อันประกอบไปด้วย กระบวนการร่วมคิด คือ การให้มีส่วนร่วมใน
การแสดงความคิดเห็นเสนอปัญหาความต้องการ คิดรูปแบบการดำเนินงานโครงการและกิจกรรม
ต่างๆ กระบวนการร่วมทำ คือ การให้มีส่วนร่วมในการลงมือกระทำ ปฏิบัติ ขับเคลื่อนการดำเนินงาน
โครงการ/กิจกรรมต่างๆ กระบวนการร่วมรับประโยชน์ คือ การที่ประชาชน และทุกภาคส่วน
ได้รับประโยชน์จากการดำเนินโครงการและกิจกรรมร่วมกัน และสุดท้าย การมีส่วนร่วม
รางวัลพระปกเกล้า’ 60