Page 234 - kpi11663
P. 234
2
แก้ปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้น เช่น การให้เกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่รับน้ำสามารถใช้น้ำจากบ่อที่ผ่าน
การบำบัดมาใช้ในพื้นที่การเกษตรได้หากเกิดปัญหาภัยแล้งในอนาคต และมีการบริจาคกระสอบปุ๋ย
อาหารสัตว์สำหรับการทำฝายชะลอน้ำเป็นประจำทุกปี
ทั้งนี้ จากการดำเนินงานร่วมกันของเครือข่ายป้องกันและบรรเทาภัยแล้งแบบบูรณาการ
ภายใต้โครงการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ทำให้เกิดโครงการต่าง ๆ ดังนี้
1. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำสำหรับอุปโภคและบริโภค ได้แก่ โครงการซ่อมแซมระบบ
ประปาหมู่บ้าน การเจาะบ่อบาดาล ก่อสร้างระบบประปาหมู่บ้าน การจัดซื้อเครื่องสูบน้ำ การเจาะ
บ่อบาดาลพร้อมระบบไฟฟ้า การจัดซื้อถังเก็บน้ำสำรอง
2. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร เป้าหมายเพื่อเพิ่มแหล่งน้ำต้นทุน และ
เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำ ได้แก่ โครงการขุดลอกทรายแม่น้ำปิง โครงการขุดลอก
อ่างเก็บน้ำจำนวน 15 แห่ง โครงการซ่อมแซมรางระบายน้ำ โครงการก่อสร้างสถานีสูบน้ำพลังไฟฟ้า
โครงการก่อสร้างระบบน้ำคอนกรีตในการผันน้ำเข้าสู่พื้นที่การเกษตร โครงการน้ำเพื่อเกษตร
ร่วมกับ บริษัท ซีพีเอฟ จำกัด (มหาชน)
3. ส่งเสริมให้ประชาชนมีจิตสำนึก อนุรักษ์ ห่วงแหนทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่
โครงการก่อสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น , โครงการปลูกต้นไม้ ลดโลกร้อน , โครงการปลูกหญ้า
แฝกตามแนวพระราชดำริ, โครงการรณรงค์ อนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม,
โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำและจัดหาพันธุ์ปลาปล่อยในแหล่งน้ำสาธารณะ, โครงการลดมลพิษ
ในอากาศ และป้องกันหมอกควันไฟป่า, โครงการจัดทำแนวกันไฟ
ผลสำเร็จของโครงการที่องค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปา ร่วมกับเครือข่ายป้องกันและ
บรรเทาภัยแล้งแบบบูรณาการ ภายใต้โครงการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ท้องถิ่นสามารถบริหาร
จัดการน้ำด้วยตนเอง ลดการพึ่งพาภาครัฐ ประชาชนในพื้นที่มีน้ำใช้ 24,000 ลิตรต่อวัน ครอบคลุม
1,069 ครัวเรือน และมีน้ำในระบบประปาหมู่บ้านหมู่บ้านละ 30,000 ลิตร มีอ่างเก็บน้ำ จำนวน
15 อ่าง สามารถเก็บกักน้ำได้กว่า 2.37 ล้านลูกบาศก์เมตร ภายหลังการทำระบบจัดการน้ำดังกล่าว
ทำให้ไม่เกิดปัญหาเรื่องภัยแล้ง และส่งผลให้เกษตรกรที่ทำสวนลำไยมีรายได้จากผลผลิตลำไย
ทั้งในและนอกฤดู จำนวน 419,850,000 บาทต่อปี
รางวัลพระปกเกล้า’ 60