Page 8 - kpiebook67033
P. 8
รายงานผลการประเมินสถานการณ์
ความเป็ นประชาธิปไตยของประเทศไทย
เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบระดับความเป็นประชาธิปไตยระหว่างปี 2564 และ 2565
จะเห็นได้ว่า คะแนนความเป็นประชาธิปไตยเพิ่มขึ้นในบางมิติ ได้แก่ มิติด้านการต่อต้านการทุจริต
การสนับสนุนประชาธิปไตย และมิติการมีส่วนร่วมของประชาชน ในทางกลับกัน มิติที่มีคะแนน
ลดลง ได้แก่ ด้านการมีทุนทางสังคม มิติการเคารพสิทธิ เสรีภาพและหน้าที่ มิติการเชื่อมั่น
ในสถาบันต่าง ๆ มิติการยึดมั่นในหลักนิติธรรม สำาหรับผลการศึกษาในแต่ละมิติ มีดังนี้
1) มิติด้านการเคารพสิทธิ เสรีภาพและหน้าที่ ประกอบด้วย เสียสละเพื่อส่วนร่วม เสียภาษี
มีสิทธิที่เท่าเทียม ยอมรับฟังความเห็นผู้อื่น ได้รับการคุ้มครองสิทธิ และมีเสรีภาพในการเข้าถึง
ข้อมูล โดยในภาพรวมของปี 2565 ประชาชนที่ตอบแบบสอบถามเห็นว่าคะแนนของมิตินี้มีอยู่
ในระดับที่สูง โดยมีคะแนน 66.5 และเมื่อพิจารณาในรายมิติย่อย พบว่า สิ่งที่ประชาชนเห็นว่า
มิติย่อยที่จะนำามาซึ่งความเป็นประชาธิปไตยในระดับสูง คือ การที่ประชาชนได้รับการคุ้มครอง
สิทธิ โดยมีคะแนน 72.3 รองลงมาคือ ยอมรับฟังความเห็นของผู้อื่น มีคะแนน 71.2 มีสิทธิที่
เท่าเทียมมีคะแนน 70.9 เสียสละเพื่อส่วนรวม มีคะแนน 69.7 และ มีการเสียภาษี มีคะแนน 65.2
ส่วนมิติย่อยที่มีคะแนนน้อยที่สุด คือ การมีเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูล โดยมีคะแนน 49.5
ภาพ 3 องค์ประกอบย่อยมิติด้านการเคารพสิทธิ เสรีภาพและหน้าที่
2) มิติด้านการยึดมั่นในหลักนิติธรรม ประกอบด้วย การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมที่ถูกต้อง
และเหมาะสม มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียม และเชื่อมั่นต่อระบบกฎหมาย โดยในภาพรวม
ของ ปี 2565 ประชาชนที่ตอบแบบสอบถามเห็นว่ามีอยู่ในระดับที่สูง โดยมีคะแนน 65.3 ซึ่งลดลง
จากปี 2564 เล็กน้อย เมื่อพิจารณาในรายมิติย่อย พบว่า สิ่งที่ประชาชนเห็นว่ามิติที่จะนำามาซึ่ง
ความเป็นประชาธิปไตยในระดับสูง คือ การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมที่ถูกต้องและเหมาะสม
6