Page 6 - kpiebook67033
P. 6
รายงานผลการประเมินสถานการณ์
ความเป็ นประชาธิปไตยของประเทศไทย
บทสรุปผูบริห�ร
้
สถาบันพระปกเกล้าได้ทำาการศึกษาการประเมินสถานการณ์ความเป็นประชาธิปไตยของ
ประเทศไทย พ.ศ. 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำาดัชนีชี้วัดประชาธิปไตยที่เหมาะสมกับบริบท
ทางสังคมและการเมืองการปกครองไทยและใช้ดัชนีวัดนี้ตรวจติดตามสถานการณ์ประชาธิปไตย
ของประเทศไทย และเพื่อศึกษาแนวโน้มระดับความเป็นประชาธิปไตยในประเทศไทยระหว่าง
ปี พ.ศ. 2560 - 2565
ในการวัดระดับความเป็นประชาธิปไตยนี้ได้มีการศึกษาตั้งแต่กระบวนการประชาธิปไตยและ
ผลของประชาธิปไตย ตลอดจนองค์ประกอบสำาคัญที่ทำาให้กระบวนการประชาธิปไตยเดินหน้า
ขับเคลื่อนต่อไปได้ นั่นคือ หลักการบริหารและการใช้ธรรมาภิบาล ทั้งนี้ หลักการบริหารและ
ธรรมาภิบาลประกอบไปด้วยการเคารพสิทธิ เสรีภาพและหน้าที่ รวมทั้งการยึดมั่นในหลักนิติธรรม
ส่วนเรื่องของกระบวนการประชาธิปไตย เป็นการศึกษาถึงการมีส่วนร่วมทางการเมืองของ
ประชาชนและการมีทุนทางสังคม และส่วนสุดท้าย คือ ผลของประชาธิปไตย ประกอบด้วย การเชื่อมั่น
ในสถาบันต่าง ๆ การสนับสนุนประชาธิปไตยและการต่อต้านการทุจริต ซึ่งทั้งหมดนี้ได้จัดทำา
เป็นตัวชี้วัดเพื่อแสดงถึงประชาธิปไตยในสังคมไทย
ทั้งนี้ เรื่องธรรมาภิบาลและการบริหารในส่วนของการเคารพสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ พิจารณา
จากการเสียสละเพื่อส่วนรวม การเสียภาษี การมีสิทธิที่เท่าเทียม การยอมรับฟังความเห็นผู้อื่น
การได้รับการคุ้มครองสิทธิ และการมีเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูล ส่วนการยึดมั่นในหลักนิติธรรมนั้น
ศึกษาการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมที่ถูกต้องเหมาะสม การบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียม
และความเชื่อมั่นต่อระบบกฎหมาย ส่วนกระบวนการประชาธิปไตยในส่วนของการมีส่วนร่วม
ของประชาชน พิจารณาจากการไปเลือกตั้ง การร่วมกิจกรรมในทางการเมืองที่ทำากันโดยทั่วไป
และกิจกรรมทางการเมืองที่ไม่ได้ทำาการโดยทั่วไป ส่วนการมีทุนทางสังคมนั้น พิจารณาจากการ
รวมกลุ่ม และความเชื่อมั่นกันและกัน ในขณะที่ ผลของประชาธิปไตยอธิบายด้วยความเชื่อมั่น
ในสถาบันต่าง ๆ อันประกอบไปด้วยรัฐสภา รัฐบาล องค์กรอิสระ ข้าราชการ ทหาร ตำารวจ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และศาล ส่วนการต่อต้านการทุจริตมาจากทัศนคติต่อการไม่ยอมรับ
การทุจริตในการดำาเนินงานของรัฐ
การสำารวจการเป็นประชาธิปไตยนี้ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ซึ่งมีอายุ 18 ปีขึ้นไปได้มาจากการสุ่มตามความน่าจะเป็น จำานวน 33,420 ตัวอย่าง โดยเก็บข้อมูล
ระหว่างวันที่ 1 – 15 เมษายน พ.ศ. 2565 ทั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้นำาเสนอผลการศึกษาโดยมีการ
เปรียบเทียบตั้งแต่ปี พ.ศ.2560 – 2565 เพื่อสะท้อนถึงแนวโน้มของระดับความเป็นประชาธิปไตย
ในแต่ละมิติ
4