Page 10 - kpiebook67033
P. 10
รายงานผลการประเมินสถานการณ์
ความเป็ นประชาธิปไตยของประเทศไทย
4) มิติด้านการมีทุนทางสังคม ประกอบด้วย การรวมกลุ่ม หรือเป็นสมาชิกกลุ่ม และการเชื่อมั่น
กันและกัน ซึ่งเป็นความเชื่อมั่นต่อบุคคลทั่วไปรอบ ๆ ตัวของผู้ตอบ ได้แก่ ญาติ เพื่อนบ้าน และ
บุคคลอื่น ๆ ที่คบหา/ติดต่อ ผลการศึกษาในภาพรวม พบว่า มีคะแนนด้านมีการมีทุนทางสังคม
ในระดับกลาง คือ 47.5 คะแนน โดยในมิติย่อยของการรวมกลุ่มหรือการเป็นสมาชิกกลุ่มมีคะแนน
23.0 ในขณะที่ความเชื่อมั่นกันและกันมี 71.9 คะแนน เมื่อพิจารณาในภาพรวมเปรียบเทียบ
ตั้งแต่ปี 2560 จนถึงปี 2565 พบว่า ในช่วง 2 ปีแรกระดับการมีทุนทางสังคมของประชาชนอยู่ใน
ช่วง 52 คะแนน จากนั้น ในช่วงสองปีหลังคะแนนลดลงเหลือประมาณ 48 คะแนน แต่มีแนวโน้ม
ที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ซึ่งมีความสอดคล้องกับมิติย่อยเรื่องการเป็นสมาชิกกลุ่ม อย่างไรก็ตามในมิติย่อย
ของความเชื่อมั่นกันและกัน พบว่าแต่ละมิติจะมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยตลอด 4 ปีที่ผ่านมา
ภาพ 6 องค์ประกอบย่อยมิติด้านการมีทุนทางสังคม
5) มิติด้านการเชื่อมั่นในสถาบันต่าง ๆ ประกอบด้วย เชื่อมั่นต่อรัฐสภา เชื่อมั่นต่อรัฐบาล
เชื่อมั่นต่อศาล เชื่อมั่นต่อข้าราชการ ทหาร และตำารวจ เชื่อมั่นต่อการปกครองส่วนท้องถิ่น และ
เชื่อมั่นต่อองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ โดยในภาพรวมพบว่า มีคะแนนอยู่ในระดับปานกลาง
โดยมีคะแนน 59 และเมื่อพิจารณาในรายมิติย่อย พบว่า ประชาชนที่ตอบแบบสอบถามเชื่อมั่น
ต่อศาลมากที่สุด โดยมีคะแนน 66.6 รองลงมาคือ เชื่อมั่นต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีคะแนน
62.9 เชื่อมั่นต่อองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ มีคะแนน 61.2 เชื่อมั่นต่อข้าราชการ ทหาร ตำารวจ
มีคะแนน 59.4 เชื่อมั่นต่อรัฐบาล มีคะแนน 51.2 และ เชื่อมั่นต่อรัฐสภา น้อยที่สุด มีคะแนน 49.7
8