Page 12 - kpiebook67033
P. 12
รายงานผลการประเมินสถานการณ์
ความเป็ นประชาธิปไตยของประเทศไทย
7) มิติด้านการต่อต้านการทุจริต ประกอบด้วย การไม่ยอมรับการทุจริต โดยในภาพรวม
เห็นว่ามีการไม่ยอมรับการทุจริตอยู่ในระดับที่สูง โดยในปี 2565 มีคะแนน 72.8 ซึ่งมีคะแนนเพิ่มขึ้น
เล็กน้อย เมื่อเทียบกับปี 2564 ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาตั้งแต่ปี 2560 จนถึงปัจจุบัน พบว่า จากปี 2560
ที่มีคะแนน 76.1 เพิ่มเป็น 87.5 ในปี 2561 ซึ่งถือว่ามีคะแนนเพิ่มขึ้นกว่า 10 คะแนน แต่อย่างไร
่
ก็ตาม ในปี 2562 พบว่ามีคะแนนตำาที่สุดในรอบ 4 ปีคือ มีคะแนนลดลงเหลือ 71.4 คะแนน และ
เพิ่มขึ้นอีกในปี 2565
ภาพ 9 องค์ประกอบย่อยมิติด้านการต่อต้านการทุจริต
ดังนั้น เพื่อเป็นการเสริมสร้างความเป็นประชาธิปไตยของประเทศไทยในมุมมองของประชาชน
ควรมุ่งเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมืองมากขึ้น โดยการเปิดโอกาสให้
ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่สำาคัญของรัฐบาลได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม หลากหลายช่องทาง
โดยให้เหมาะสมกับแต่ละบริบทของพื้นที่ นอกจากนี้ การนำาเสนอข้อมูลของรัฐบาลควรมีความเหมาะสม
กับประชาชนในทุกกลุ่ม ทั้งกลุ่มเพศ วัย และกลุ่มเฉพาะ เช่น กลุ่มคนพิการ กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ
การเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่สำาคัญของรัฐบาลจะช่วยให้ประชาชน
ได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายและการดำาเนินงานของรัฐบาล เข้าใจบทบาทและหน้าที่ของตน
ในฐานะพลเมือง และสามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อมูล
ข่าวสารควรนำาเสนอในรูปแบบที่เข้าใจง่าย หลากหลายช่องทาง และเข้าถึงได้ง่าย เช่น เว็บไซต์
โซเชียลมีเดีย สื่อมวลชนท้องถิ่น เป็นต้น นอกจากนี้ ควรคำานึงถึงบริบทของพื้นที่ เช่น ภาษา
วัฒนธรรม และระดับการศึกษาของประชาชน เพื่อให้ข้อมูลมีความเหมาะสมและเข้าถึงได้ง่าย
นอกจากการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารแล้ว ภาครัฐควรมีช่องทางให้ประชาชน
มีส่วนร่วมในการติดตามตรวจสอบการทำางานของรัฐบาล เช่น การจัดเวทีสาธารณะ การรับฟัง
ความคิดเห็นของประชาชน การจัดให้มีตัวแทนของประชาชนเข้าร่วมประชุมสภา เป็นต้น การมี
ช่องทางให้ประชาชนมีส่วนร่วมจะช่วยให้ประชาชนสามารถตรวจสอบการทำางานของรัฐบาลได้
และเกิดความเชื่อมั่นในระบบการปกครอง
10