Page 501 - kpiebook67020
P. 501

500  การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต




               ในประเทศไทย ข่าวปลอมถูกท�าให้กลายเป็นเรื่องความมั่นคง (securitization)

        และเรื่องการเมือง (politicization) ฉะนั้นเมื่อกลายเป็นเรื่องความมั่นคงแล้ว วิธีคิด
        ในการมองข่าวปลอมโดยฝ่ายความมั่นคงก็จะมองว่าข่าวปลอมเป็น “ภัยคุกคาม”
        ต่อความมั่นคงแห่งชาติ และจ�าเป็นที่จะต้องใช้ทุก ๆ วิธีการที่เป็นไปได้เพื่อรักษา

        ความมั่นคง การใช้อ�านาจในนาม “ความมั่นคง” จึงกลายเป็นช่องว่างที่ท�าให้ข่าว

        ปลอมอาจถูกใช้เป็น “อาวุธ” (weaponization) ในทางการเมืองเพื่อจัดการผู้เห็นต่าง
        และผู้ต่อต้านรัฐบาล ซึ่งก็อาจน�าไปสู่ความขัดแย้งและความแตกแยกได้เช่นเดียวกัน


               ข่าวปลอมเป็นปัญหาทั้งในแง่เนื้อหาและการจัดการในประเทศไทย ในด้านหนึ่ง
        ก็มีความจ�าเป็นที่จะต้องก�ากับควบคุมข่าวปลอมมิให้มีการแพร่กระจายและสร้าง

        ความเสียหายและขัดแย้งในสังคม แต่ในอีกด้านหนึ่ง กลไกที่รัฐใช้ในการก�ากับควบคุม
        ข่าวปลอมก็อาจเป็นช่องว่างที่จะใช้เรื่องการจัดการข่าวปลอมเป็นเครื่องมือทางการเมือง

        ในการจัดการฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ซึ่งทั้งสองด้านเป็นเรื่องที่ส�าคัญที่อาจน�าไปสู่วิกฤต
        ทางสังคมได้หากไม่มีการจัดการอย่างสมดุลระหว่างการควบคุมเนื้อหาและสิทธิเสรีภาพ

        ในการแสดงความคิดเห็น


               7.1.4 ปัจจัยที่มีส่วนผลักดันให้เกิดปัญหา (Driving forces)

               การที่ไม่มีนิยามและขอบเขตที่ชัดเจนของค�าว่าข่าวปลอมในทางกฎหมาย
        ท�าให้กลายเป็นช่องว่างที่ท�าให้การจัดการข่าวปลอมอาจกลายเป็นเครื่องมือทางการเมือง

        ที่ถูกน�ามาใช้จัดการผู้เห็นต่าง ขอบเขตตามมาตรา 14 ของพระราชบัญญัติว่าด้วย
        การกระท�าผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 (ฉบับที่ 2) โดยเฉพาะค�าว่า “ข้อมูล

        คอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์
        อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน” ซึ่งการจะตีความว่า

        ข้อมูลใดที่เป็น “ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน” หรือ “ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ”
   496   497   498   499   500   501   502   503   504   505   506