Page 243 - kpiebook67015
P. 243

6


                 = แผนการดำเนินงานระยะยาว ในแผนพัฒนาท้องถิ่นได้บรรจุโครงการพัฒนา
           โครงสร้างพื้นฐานสำหรับเมืองที่เป็นมิตรสำหรับผู้สูงอายุ เช่น เพิ่มเส้นทางจักรยาน ปรับปรุง

           ทางเดินเท้า ปรับปรุงห้องน้ำสาธารณะ การจัดหาครุภัณฑ์ และการส่งเสริมอาชีพ เป็นต้น

                 จากการดำเนินนโครงการ “แม่เหียะ เมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ” สามารถ
           ขับเคลื่อนเมืองให้รองรับสังคมผู้สูงอายุได้ตามแนวคิด 4S คือ “ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า
           กินข้าวอร่อย” กล่าวคือ Smart Walk มีการออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อร่างกายที่แข็งแรง

           เพื่อป้องกันการหกล้ม โดยให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน วันละ
           30 นาที Smart Brain & Emotional ดูแลฝึกทักษะทางสมองส่งเสริมสุขภาพจิตและอารมณ์
           ของผู้สูงอายุ โดยส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมในชมรมผู้สูงอายุและโรงเรียน
           ผู้สูงอายุ Smart Sleep คือ การนอนหลับอย่างเพียงพออย่างน้อยวันละ 7-8 ชั่วโมง และ

           Smart Eat คือ การกินอาหารตามหลักโภชนาการครบ 5 หมู่ ลดหวาน มัน เค็ม เน้นผัก
           ผลไม้ และเลือกอาหารที่มีโปรตีนคุณภาพสูง การดำเนินการเช่นนี้ทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพ
           แข็งแรงและมีความมั่นคงและปลอดภัยในชีวิต เมืองแม่เหียะมีความพร้อมในการเข้าสู่สังคม
           ผู้สูงอายุในหลายด้าน กล่าวคือ ด้านสังคม ชุมชนมีแผนการดำเนินงานกับประชากร

           กลุ่มเปราะบางในชุมชน เช่น การซ่อมแซมที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้สูงอายุ และการจัดกิจกรรมทาง
           วัฒนธรรมประเพณีให้ผู้สูงอายุได้มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับสมาชิกในชุมชน เป็นต้น ด้านเศรษฐกิจ
           ชุมชนมีการเสริมสร้างอาชีพและรายได้ให้กับผู้สูงอายุในรูปแบบกลุ่มหรือกองทุน อาทิ
           กองทุนสมาชิกฌาปนกิจศพ เป็นต้น ด้านสุขภาพ ชุมชนมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

           บ้านท่าข้ามและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการออกตรวจ
           สุขภาพให้กับผู้สูงอายุ ทำการคัดกรองเบื้องต้น และให้ความรู้เกี่ยวกับการสาธารณสุข
           และการดูแลสุขภาพ ด้านการศึกษา ชุมชนส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่ผู้สูงอายุผ่านโรงเรียน
           ผู้สูงอายุ และมีการแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน


           โครงการ “การจัดการด้านสุขภาวะพื้นที่อยู่อาศัยสำหรับคนงานก่อสร้าง”

                 โครงการ “การจัดการด้านสุขภาวะพื้นที่อยู่อาศัยสำหรับคนงานก่อสร้าง” เกิดขึ้น
           ในช่วงสถานการณ์โรคไวรัสโคโรนา 2019 เนื่องจากมีการควบคุมโรคในพื้นที่ตำบลแม่เหียะ
           และพบว่า ในตำบลแม่เหียะมีกลุ่มประชากรแฝงในพื้นที่มากกว่า 5,000 คน อีกทั้งในพื้นที่
           ยังมีแรงงานต่างด้าวอาศัยอยู่ในที่พักอาศัยชั่วคราว (แคมป์คนงาน) แคมป์หรือหอพักของ

           แรงงานต่างด้าวเป็นจุดเริ่มต้นของการแพร่ระบาดในพื้นที่ และส่งผลให้มีการแพร่ระบาดอย่าง
           รวดเร็วและขยายเป็นวงกว้าง ขณะนั้นการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารและการให้บริการด้าน




        รางวัลพระปกเกล้า’ 66
   238   239   240   241   242   243   244   245   246   247   248