Page 244 - kpiebook67015
P. 244

สาธารณสุขแก่กลุ่มแรงงานต่างด้าวเป็นไปด้วยความยากลำบาก ทั้งในเรื่องของการให้
             องค์ความรู้เกี่ยวกับโควิด และการเฝ้าระวังเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ประกอบกับยังมีปัญหา

             ด้านอื่น ๆ เช่น ปัญหาภาษาที่ใช้ในการสื่อสารกับกลุ่มแรงงานต่างด้าว และการเข้าไม่ถึง
             การบริการสาธารณสุขของประชากรกลุ่มนี้ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้เทศบาลเมืองแม่เหียะจึงจัดทำ
             โครงการการจัดการด้านสุขภาวะพื้นที่อยู่อาศัยสำหรับคนงานก่อสร้างอย่างเป็นรูปธรรม
             โดยได้มีการสำรวจพื้นที่และคัดกรองคนงานในพื้นที่ตำบลแม่เหียะทั้งหมด จากนั้นกำหนด

             พิกัดระบุตำแหน่งโดยใช้โปรแกรม QGIS และจัดทำเป็นฐานข้อมูล การดำเนินการเช่นนี้ทำให้
             ทราบพิกัดที่อยู่อาศัยของประชากรแฝงในพื้นที่ และมีข้อมูลเลขที่โฉนดที่ดิน ขนาดที่ดิน
             ชื่อเจ้าของที่ดิน และจุด (Polygon) ตั้งแคมป์หรือหอพักของประชากรแฝงกลุ่มชาติพันธ์
             และแรงงานต่างด้าว ซึ่งในปี พ.ศ. 2565 พบว่า มีแคมป์ก่อสร้าง จำนวน 7 แห่ง และมีจำนวน

             แรงงานทั้งสิ้น 342 คน เมื่อทราบข้อมูลประชากรแฝงกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่ชัดเจนแล้ว
             จึงนำไปสู่การดำเนินการให้บริการด้านสาธารณสุขและการส่งเสริมด้านการศึกษา

                   การดำเนินการให้บริการด้านสาธารณสุข ได้แก่ การดำเนินการแก้ไขและปรับปรุง
             สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย การปรับปรุงคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนงานก่อสร้าง โดยให้

             ความรู้ด้านสาธารณสุข สร้างเครือข่ายสุขภาพในชุมชนเมือง สร้างอาสาสมัครสาธารณสุข





































                                                                             รางวัลพระปกเกล้า’ 66
   239   240   241   242   243   244   245   246   247   248   249