Page 245 - kpiebook67015
P. 245
8
ต่างด้าว (อสต.) สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังโรคและปัญหาสาธารณสุข และมีทีมแกนนำประจำ
แคมป์แต่ละแห่งเพื่อเป็นตัวแทนสื่อสารข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ระหว่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
ฝ่ายปกครอง และสมาชิกในแคมป์
การดำเนินการส่งเสริมด้านการศึกษา เนื่องจากภายในที่พักอาศัยชั่วคราว (แคมป์
คนงาน) คนงานส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่อาศัยเพียงคนเดียว แต่มีครอบครัวและบุตรหลานอาศัย
อยู่ด้วย เด็ก ๆ กลุ่มนี้จำเป็นต้องได้การศึกษา เทศบาลเมืองแม่เหียะจึงส่งเสริมให้เด็กกลุ่มนี้
เข้ารับการศึกษาในสถานศึกษาในพื้นที่ตำบลแม่เหียะ เช่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมือง
แม่เหียะ โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองแม่เหียะ โรงเรียนศิริมังคลาจารย์ โรงเรียนบ้านแม่เหียะ
สามัคคี และโรงเรียนบ้านดอนปิน เป็นต้น เมื่อเด็กได้เข้าเรียน เด็กจะสามารถเป็นสื่อกลาง
การประสานงานและการเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ของครอบครัวแรงงานต่างชาติในพื้นที่ได้อีกด้วย
สืบเนื่องจากสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข เทศบาลเมืองแม่เหียะได้บริหาร
จัดการภาวะฉุกเฉินโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน และได้สร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมระหว่างเทศบาล
ชุมชน และกลุ่มประชากรแฝงชาติพันธุ์ในพื้นที่ทำให้ได้มาซึ่งฐานข้อมูลที่เป็นประโยชน์
ที่สามารถบ่งบอกถึงปัญหา และใช้เป็นข้อมูลประกอบการหาแนวทางในการป้องกันและแก้ไข
ปัญหา เครือข่ายที่เกิดขึ้นเป็นเครือข่ายในการเฝ้าระวังโรคระบาดและเฝ้าระวังด้านความมั่นคง
ปลอดภัยในชุมชน ประชาชนในชุมชนทุกคนไม่ว่าจะเด็ก ผู้ใหญ่ คนชรา คนไทยหรือต่างชาติ
ที่อยู่อาศัยในพื้นที่เทศบาลเมืองแม่เหียะเกิดความเชื่อมั่น สามารถเข้าถึงบริการสาธารณะ
ได้อย่างเท่าเทียม และเกิดการขับเคลื่อนด้านเศรษฐกิจในพื้นที่อย่างมั่นคง โครงการ
“การจัดการด้านสุขภาวะพื้นที่อยู่อาศัยสำหรับคนงานก่อสร้าง” จึงเป็นทั้งการ “ให้” “ได้รับ”
และ “เข้าถึง” สุขภาวะขั้นพื้นฐานที่ได้มาตรฐานอย่างเท่าเทียมโดยอาศัยความร่วมมือ
จากภาคเครือข่าย ทุกคนในชุมชนใช้หลักคิดเดียวกันในการสร้างความเข้มแข็งของเครือข่าย
คือ หลักสิทธิมนุษยชน ซึ่งถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนพึงได้รับโดยไม่แบ่งแยก
เชื้อชาติ ศาสนา หรือวัฒนธรรม ประกอบกับเครือข่ายยังดำเนินงานบนความเชื่อที่ว่า
มนุษย์มีคุณค่าและมีวิถีทางแห่งการดำเนินชีวิตเป็นของตนเอง มีความสามารถในการดำรงตน
อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ที่เหมาะสมอย่างสมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ด้วยหลักคิดและ
ความเชื่อเช่นนี้จึงส่งผลให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนกิจกรรมของชุมชน สามารถอยู่
ร่วมกันได้อย่างปกติสุข และช่วยลดช่องว่างความเลื่อมล้ำในชุมชนได้อย่างยั่งยืน
รางวัลพระปกเกล้า’ 66