Page 238 - kpiebook67015
P. 238

1


                   จากการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 เทศบาลนครพิษณุโลก
             ได้ปรับปรุงถนนให้เป็นถนนคสล.คอนกรีต จำนวน 27 เส้น ในปี พ.ศ. 2566 ได้ปรับปรุง

             ภูมิทัศน์สวนสาธารณะและอาคารสถานที่ภายในเขตเมืองให้ได้มาตรฐานและเป็นไปตามหลัก
             Universal Design อาทิ การทำทางลาดและราวจับสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการ ห้องน้ำ
             สำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการ ที่จอดรถสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการ ป้ายบอกสถานที่ตามอาคาร
             ของเทศบาล และการก่อสร้างทางเท้าสำหรับผู้พิการทางสายตา และเบรลล์บล็อก (Braille

             Block) สำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการในสวนสาธารณะ เป็นต้น นอกจากนี้ได้ออกแบบบ้าน
             ที่เหมาะสมสำหรับคนทุกกลุ่มวัยตามหลัก Universal Design พร้อมทั้งจัดทำแบบแปลน
             บ้านตัวอย่างที่เอื้อต่อคนทุกกลุ่มทุกวัย โดยผู้ที่สนใจสามารถขอแบบแปลนบ้านได้ที่สำนักช่าง
             ของเทศบาลนครพิษณุโลกโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย


                   เทศบาลนครพิษณุโลกต่อยอดการพัฒนาเพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานและระบบ
             สาธารณูปโภคของเมืองให้ก้าวสู่ระดับสากลต่อไป โดยมีนโยบายและแนวทางการพัฒนาระบบ
             โครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคที่ได้มาตรฐานและเอื้อต่อคนทุกกลุ่มทุกวัยตาม
             หลักมาตรฐานสากล ซึ่งจะนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยเข้ามาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญ

             ในการปฏิบัติงาน ยกตัวอย่างแผนการดำเนินงานในอนาคต อาทิ การจัดทำระบบ E-Service
             สำหรับบริการประชาชนในการขออนุญาตก่อสร้างและติดตามคำขอบ้านเลขที่ การนำ
             เทคโนโลยีโลกเสมือนและเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการพัฒนาภูมิทัศน์เมือง การใช้ระบบ
             AR,VR,MR ในการจัดทำประชาคมท้องถิ่นเสมือนจริงก่อนทำการก่อสร้าง การจัดทำระบบ

             ฐานข้อมูลสำหรับการจัดเก็บผลการสำรวจเส้นทางวางท่อน้ำประปา การนำสายไฟฟ้าลงดิน
             การติดตั้งโคมไฟฟ้าสาธารณะเพื่อเพิ่มแสงสว่างในการสัญจรด้วยหลอดไฟอัจฉริยะ IOT และ
             การพัฒนาระบบน้ำประปาดื่มได้ เป็นต้น


                   การยกระดับและพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคให้เอื้อต่อ
             คนทุกกลุ่มวัยทำให้ประชาชนทั้งในเขตและนอกเขตเทศบาลตลอดจนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย
             และต่างประเทศที่มีข้อจำกัดทางร่างกายสามารถเข้าถึงบริการสาธารณะได้โดยสะดวก
             เป็นการปลดล็อคขีดจำกัดของการใช้ชีวิตประจำวันให้กับประชากรกลุ่มนี้ และสร้าง
             ความเสมอภาคและความเป็นธรรมในการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค ซึ่งเป็น

             บริการสาธารณะขั้นพื้นฐานที่ประชาชนทุกคนควรได้รับ









                                                                             รางวัลพระปกเกล้า’ 66
   233   234   235   236   237   238   239   240   241   242   243