Page 234 - kpiebook67015
P. 234

เข้าถึงสิทธิ สวัสดิการ และบริการของรัฐได้น้อยกว่าประชากรทั่วไป ด้วยเหตุนี้เทศบาล
             นครพิษณุโลกจึงมุ่งลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นด้วยการเพิ่มรายได้ให้แก่กลุ่มคนจน

             รายใหม่และคนจนในเมืองในพื้นที่ เกิดเป็นโครงการ Phitsanulok Happiness Model

                   โครงการ Phitsanulok Happiness Model มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างรายได้
             ให้แก่ประชากรกลุ่มคนจนรายใหม่และคนจนในเมืองด้วยการส่งเสริมอาชีพ จัดพื้นที่สำหรับ
             การค้าขาย และกระตุ้นเศรษฐกิจโดยภาพรวมในพื้นที่ด้วยการจัดกิจกรรมถนนคนเดิน

             และงานมหกรรมอาหารและของที่ระลึก โดยมีแนวทางการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้

                   = นำข้อมูลของประชาชนผู้ประสบวิกฤตเศรษฐกิจมาวิเคราะห์และจัดประเภท
             ความเดือดร้อนเพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือ และพิจารณาแนวทางการพัฒนาศักยภาพของ
             ประชาชนผู้ประสบวิกฤตเศรษฐกิจให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ในระยะยาว จากการสำรวจ

             ข้อมูลพบว่า มีคนจนในเมือง จำนวน 409 ครอบครัว หรือคิดเป็นร้อยละ 57.20 ของ
             ครัวเรือนทั้งหมด และคนจนรายใหม่ (ถูกเลิกจ้าง ลดเวลาทำงาน หรือปิดร้าน/กิจการ)
             จำนวน 294 ครอบครัว หรือคิดเป็นร้อยละ 41.11 ของครัวเรือนทั้งหมด

                   = บูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม

             และภาคประชาชน โดยมีการแต่งตั้ง “คณะกรรมการ” “คณะทำงาน” และ “ทีมสหวิชาชีพ”
             (สำหรับผู้ประสบวิกฤตเศรษฐกิจที่มีปัญหาทับซ้อนและจำเป็นต้องมีทีมสหวิชาชีพลงเยี่ยม)
             และมีศูนย์ช่วยเหลือประชาชนของเทศบาลนครพิษณุโลกเป็นกลไกในการทำงาน โครงสร้าง

             ของศูนย์มีนายกเทศมนตรีนครพิษณุโลกเป็นผู้อำนวยการศูนย์ และมีปลัดเทศบาล
             นครพิษณุโลกเป็นหัวหน้าศูนย์ ศูนย์มีภารกิจให้ความช่วยเหลือประชาชนที่มีความเดือดร้อน
             ทั้งด้านสาธารณภัย ด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้านการป้องกันและควบคุม
             โรคติดต่อ ด้านการให้ความช่วยเหลือเกษตรกร ผู้มีรายได้น้อย และด้านอื่น ๆ ศูนย์มี
             เจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติการในพื้นที่หรือเรียกว่า “ชุดเคลื่อนที่เร็ว” ลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือ

             ในเรื่องจำเป็นเร่งด่วนทันทีที่ได้รับแจ้งเหตุ นอกจากนี้ศูนย์ได้มีการจัดทำเครื่องมือในการวัด
             ระดับความรุนแรงของสภาพปัญหาของแต่ละครอบครัว โดยแบ่งออกเป็น 7 ด้าน ได้แก่
             (1) รายได้เฉลี่ยของครอบครัวน้อยกว่า 100,000 บาท (2) หัวหน้าครอบครัวประสบเหตุ

             (เสียชีวิต ทอดทิ้ง ต้องโทษ เจ็บป่วยร้ายแรง พิการ ว่างงาน หรือเป็นผู้สูงอายุ) (3) สภาพ
             ความเป็นอยู่ (ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง อาศัยอยู่กับนายจ้าง/คนรู้จัก/ญาติ เช่าบ้าน
             บ้านติดจำนอง หรือผ่อนชำระ) (4) อาชีพของสมาชิกในครอบครัว (ถูกเลิกจ้าง พักงาน
             ลดเวลาการทำงาน รายได้ลดลง หรือรายได้ไม่แน่นอน) (5) ภาระหนี้สินที่ต้องชำระต่อเดือน




                                                                             รางวัลพระปกเกล้า’ 66
   229   230   231   232   233   234   235   236   237   238   239