Page 230 - kpiebook67015
P. 230
ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่แข็งแรงจึงกระจายป้อมปราการในการให้บริการสาธารณสุขหรือจัดตั้ง
ศูนย์สุขภาพชุมชนใน 4 มุมเมือง เพื่อให้บริการแก่ประชาชนทุกกลุ่มในพื้นที่โดยเฉพาะ
ผู้สูงอายุที่เป็นผู้ด้อยโอกาสอย่างครอบคลุมและทั่วถึง ทั้งนี้ศูนย์สุขภาพชุมชนให้บริการ
ใน 4 ด้าน ได้แก่ การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาโรค และการฟื้นฟู
แนวทางการดำเนินงานของเทศบาลนครพิษณุโลกสำหรับการส่งเสริมสุขภาพ
ของประชาชนทุกกลุ่มวัยโดยภาพรวมมีดังนี้
1. สร้างนโยบายสาธารณะ การกำหนดนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมสุขภาพ
แบบองค์รวม และดำเนินการควบคู่ไปพร้อมกับกระบวนการด้านนิติบัญญัติ งบประมาณ
และการจัดโครงสร้างองค์กรที่จะนำไปสู่สภาวะสุขภาพของประชาชน
2. การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี การเสริมสร้างความปลอดภัยใน
ที่อยู่อาศัยและที่ทำงาน และการประเมินสภาพแวดล้อมและรักษาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลดีต่อ
สุขภาพให้คงอยู่อย่างยั่งยืนทั้งสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์
สร้างขึ้น
3. การทำกิจกรรมชุมชนให้เข้มแข็ง การส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วม
ในการดูแลสุขภาพ โดยการนำเสนอปัญหา ตัดสินใจเลือกปัญหาที่จะแก้ไข กำหนดวิธีการ
แก้ไขปัญหา และร่วมดำเนินการแก้ไขปัญหา ขณะที่เทศบาลนครพิษณุโลกให้คำปรึกษา
ทางวิชาการและสนับสนุนงบประมาณ
4. การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล การส่งเสริมสนับสนุนให้มีการพัฒนาความรู้
ความเข้าใจและทักษะส่วนบุคคล โดยการให้ข้อมูลและความรู้ในการดูแลรักษาสุขภาพ
ซึ่งอาสาสมัครสาธารณสุข แกนนำสุขภาพประชาชน และผู้นำชุมชนเป็นผู้ดำเนินการ
5. การจัดการระบบบริการ การส่งเสริมสนับสนุนบทบาทของหน่วยบริการระดับ
ต่าง ๆ ในพื้นที่ในการส่งเสริมสุขภาพ พร้อมทั้งตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการ
ทางด้านสุขภาพที่เกิดขึ้นในพื้นที่
สำหรับการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุโดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เป็นผู้ด้อยโอกาส เทศบาล
นครพิษณุโลกได้ทำการสำรวจปัญหาสุขภาพและพบผู้สูงอายุกลุ่มที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน
60 ราย จึงได้วางแผนการดูแลประชากรกลุ่มนี้ในระยะยาวด้วยการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมและ
ฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ผู้สูงอายุกลุ่มที่มีภาวะพึ่งพิงถูกแบ่งออกเป็น
รางวัลพระปกเกล้า’ 66