Page 225 - kpiebook67015
P. 225
18
การทำงานแบบเครือข่ายต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับ
ชุมชน กลุ่มองค์กร หน่วยงานรัฐ ทำให้เกิดความคิดในการนำประสบการณ์ องค์ความรู้
เทคโนโลยี การบูรณาการงาน และงบประมาณ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ แต่ปัจจัย
ที่ขาดไม่ได้เลยคือ ชุมชนต้องมีผู้นำที่เข้มแข็ง มีความรู้ ความสามารถ มีคุณภาพ
มีความเสียสละ สามารถทำให้ประชาชนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมโดยใช้กระบวนการคิด
ร่วมกันของคนในชุมชน ได้เรียนรู้ปัญหา ค้นหาสาเหตุ วิธีการ และแนวทางแก้ไขร่วมกัน
ผลลัพธ์จากการร่วมกันบริหารจัดการป่าชุมชนส่งผลให้เกิดพื้นที่ป่าชุมชนเพิ่มขึ้น
จากเดิม 200 ไร่ ขยายอีก 600 ไร่ รวมเป็น 800 ไร่ ทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์
เป็นแหล่งที่อยู่ของพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ และแหล่งอาหารของมนุษย์ ประชาชนในพื้นที่และพื้นที่
ข้างเคียงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความสุข และใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
มีความสามัคคีกัน มีความกลมเกลียวเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ปรองดอง เอื้ออาทร ช่วยเหลือ
ซึ่งกันและกัน และร่วมแก้ไขปัญหาไปด้วยกัน อีกทั้งยังเป็นต้นแบบให้หน่วยงานของรัฐได้ใช้
โมเดลนี้ในการจัดการเรื่องการบริหารจัดการป่าชุมชนของประชาชนในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป
และเป็นแหล่งศึกษา ดูงาน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
หน่วยงานภาครัฐ และเอกชนอื่นที่จะนำไปปรับใช้ในการจัดการและแก้ไขปัญหาในพื้นที่ของ
ตนเอง
รางวัลพระปกเกล้า’ 66