Page 221 - kpiebook67015
P. 221
1
โครงการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยที่ดินทำกิน และพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างมีส่วนร่วม
จะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะนโยบายของผู้บริหาร
ท้องถิ่นที่มีความตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชน ชุมชนที่มีความสามัคคี
ปรองดองเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในการจัดการและแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ตลอดจน
การสนับสนุนการให้ความร่วมมือจากหน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม
เป็นอย่างดีจากภาคีเครือข่าย ได้แก่ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน กรมพัฒนาสังคมและ
สวัสดิการ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
จังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา
จังหวัดลำพูน กรมป่าไม้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานที่ดิน การไฟฟ้า
ส่วนภูมิภาค อำเภอจอมทอง การประปาส่วนภูมิภาค แขวงทางหลวงชนบท ประมงอำเภอ
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม วิทยาลัยการอาชีพจอมทอง กศน. องค์กรเอกชน
และภาคประชาสังคม P-move UNDP มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ สภาลมหายใจเชียงใหม่
สหพันธ์เกษตรภาคเหนือ และสภาองค์กรชุมชนตำบลข่วงเปา
ความสำเร็จของโครงการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยที่ดินทำกินและพัฒนาคุณภาพชีวิต
อย่างมีส่วนร่วมชุมชนบ้านใหม่ล้านนา หมู่ที่ 14 ตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง จังหวัด
เชียงใหม่ สามารถเปลี่ยนชีวิตของกลุ่มคนจำนวนหนึ่งที่ต้องอยู่กับความหวาดระแวงและต่อสู้
เพียงลำพังให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง ไม่ต้องถูกไล่รื้อจากรัฐ
มีบ้านเรือนที่มั่นคง ปลอดภัย และเป็นมรดกตกทอดแก่ลูกหลานสืบไป อีกทั้งยังเป็นพื้นที่แรก
ของประเทศที่สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินทำกินระหว่างหน่วยของรัฐ (กรมป่าไม้)
กับชุมชนท้องถิ่นในเรื่องการจัดการคนอยู่กับป่าได้อย่างสมดุล เกิดกระบวนการที่เรียกว่า
“การพัฒนาโดยใช้พื้นที่เป็นที่ตั้ง สู่การจัดการตนเองอย่างมีส่วนร่วมเพื่อไปสู่การพัฒนา
ที่ยั่งยืน” เกิดกระบวนการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนแบบพึ่งพาตน ใช้ศักยภาพของตนเอง
และของชุมชนในการจัดการแก้ไขปัญหา โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของชุมชน
รางวัลพระปกเกล้า’ 66