Page 124 - kpiebook67015
P. 124

11


                   เทศบาลนครยะลาได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการส่งเสริมการพัฒนาอาชีพ
             และการสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่โดยอาศัยต้นทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ และใช้เป็น

             เครื่องมือในการผลักดันให้เกิดคุณค่าทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมและอนุรักษ์ให้คนรุ่นใหม่เห็นถึง
             ความสำคัญของการรักษาอัตลักษณ์ท้องถิ่นให้คงอยู่ ตลอดจนยกระดับศักยภาพธุรกิจท้องถิ่น
             ให้มีความแข็งแกร่ง เพิ่มโอกาสและความสามารถให้แบรนด์ของตนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
             เป็นที่ยอมรับในระดับประเทศมากยิ่งขึ้น พร้อมเพิ่มมูลค่าและช่องทางการจัดจำหน่าย

             ผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดเชิงพาณิชย์บนโลกดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสามารถ
             ต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับผลักดันให้นครยะลาเป็นศูนย์กลางแฟชั่นปากายัน มลายู
             อย่างยั่งยืนต่อไป

                   เทศบาลนครยะลาได้เล็งถึงความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจึงได้มีการจัด

             ประชุมระดมความคิดเห็นของผู้ประกอบการร้านขายผลิตภัณฑ์ผ้า และร้านขายเสื้อผ้า
             ตัวแทนเครือข่ายจาก 2 ประเทศ ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ซึ่งมี
             วัฒนธรรมมลายูร่วมกัน เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนและหาแนวทางเกี่ยวกับการออกแบบ (Design)
             ให้เป็นที่ยอมรับในเชิงศาสนาและวัฒนธรรมร่วมกัน เช่น การออกแบบลายผ้า การออกแบบ

             เครื่องแต่งกาย เป็นต้น อันเป็นการสร้างกระแสแฟชั่นประยุกต์และการพยายามสร้างแบรนด์
             ที่ทัดเทียมกับแบรนด์ดังระดับโลก ซึ่งผลิตภัณฑ์ผ้าในปัจจุบันยังไม่มีความโดนเด่นที่แสดงถึง
             ความเป็นอัตลักษณ์ท้องถิ่น และมีผู้ประกอบการอีกเป็นจำนวนมากที่ยังต้องการได้รับ
             การสนับสนุนด้านความรู้ด้านการออกแบบแฟชั่น การเพิ่มมูลค่าสินค้า การพรีเซ็นต์สินค้า

             การสร้างแบรนด์ ตลอดจนการทำตลาดสินค้าแฟชั่นร่วมสมัย จึงเกิดการรวมกลุ่มระหว่าง
             ภาคีเครือข่ายทั้งภายในและต่างประเทศ ตั้งแต่กลุ่มผู้ผลิตผ้าพื้นเมือง กลุ่มนักออกแบบ
             กลุ่มผู้ประกอบการจำหน่ายผ้า ดีไซน์เนอร์ อันเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดโครงการและกิจกรรม
             ต่าง ๆ ในนาม “ปากายัน มลายู” ซึ่งแปลว่า เครื่องแต่งกายตามอัตลักษณ์บนคาบสมุทร

             มลายู

             วัตถุประสงค์

                   1) เพื่อส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึง

             การเปิดพื้นที่ใหม่คนรุ่นใหม่ได้สร้างสรรค์การออกแบบเครื่องแต่งกายร่วมสมัยที่สามารถ
             ประยุกต์ใช้ได้ตามกระแสนิยม (Trend)

                   2) เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นด้านเครื่องแต่งกาย ตลอดจน
             ยกระดับรูปแบบการพัฒนาธุรกิจ (Brand) อันเป็นการขยายโอกาสและรายได้ให้แก่ชุมชน



                                                                             รางวัลพระปกเกล้า’ 66
   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129