Page 129 - kpiebook67015
P. 129

1


           ก่อนเข้าร่วมโครงการผู้ประกอบการมีรายได้เฉลี่ย 25,000 บาท/เดือน และหลังเข้าร่วม
           โครงการมีรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 45,000 บาท/เดือน และยังส่งผลให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ

           (Value Chain) ไปยังเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น กลุ่มคนทำผ้า กลุ่มยาริงบาติก (พิมพ์ผ้า)
           กลุ่มปักมือลาวาลงเวง (ปักผ้า) ร้านจำปา (จำหน่ายวัตถุดิบ) ร้านอาหามะ ร้านอาบาดี
           (ลงสีผ้า) ร้านน้องแพง (ตัดเย็บ) เป็นต้น สร้างโอกาสและรายได้ให้กับกลุ่มผู้ประกอบการ
           และเครือข่ายธุรกิจ สร้างความเข้มแข็งจากการรวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน

           และร่วมกำหนดมาตรฐานของสินค้าให้มีคุณภาพโดยจะมีการรับรองตราสัญลักษณ์ แบรนด์
           PAKAIAN MELAYU ให้กับผลิตภัณฑ์ที่จะจำหน่าย เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค ทั้งนี้
           ผลสัมฤทธิ์ของที่เกิดจากการดำเนินโครงการ มีดังนี้

                    1.  ประชาชนและเยาวชนคนรุ่นใหม่ได้ร่วมส่งเสริม อนุรักษ์ และพัฒนาภูมิปัญญา

                       ท้องถิ่นให้คงอยู่

                    2.  เปิดพื้นที่ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบเครื่องแต่งกาย สามารถสร้างสรรค์
                       ผลงานผ้าร่วมสมัย ผ้าลายท้องถิ่น และผ้าลายพระราชทานให้มีอัตลักษณ์

                       ความเป็นเมืองยะลา ตลอดจนมีเวทีแสดงออกถึงความสามารถด้านการออกแบบ
                       เครื่องแต่งกายที่ทันสมัย

                    3.  สามารถนำความรู้ที่ได้รับทางวัฒนธรรมท้องถิ่นมาประยุกต์ผสมผสาน
                       ให้มีความร่วมสมัย สร้างคุณค่าทางสังคม


                    4.  สามารถเพิ่มช่องทางการตลาด ขยายกลุ่มเป้าหมายให้ผู้ประกอบการในพื้นที่
                       สร้างโอกาสในการต่อยอดพัฒนาธุรกิจ

           ความโดดเด่น เป็นเลิศ หรือแตกต่างจากที่อื่นอย่างไร หรือหากเป็นโครงการที่เคย
           ดำเนินการมาแล้ว มีการต่อยอดจากปีก่อนๆ ที่นำเสนอไปอย่างไร


                 โครงการนวัตกรรม PAKAIAN MELAYU สร้างแบรนด์ไทย สู่เวทีโลก เป็นโครงการ
           ใหม่ของเทศบาลนครยะลา เป็นการดึงแนวคิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ถ่ายทอดผ่านรากเหง้า
           ทางวัฒนธรรม อัตลักษณ์ผ้าพื้นเมืองและวิถีชีวิตท้องถิ่น สร้างสรรค์เป็นผลงานที่มีอัตลักษณ์

           นำไปสู่การสร้างแบรนด์ และเพิ่มมูลค่าแฟชั่นมลายูสู่สากล ด้วยความร่วมมือระหว่าง
           ภาคีเครือข่ายทางวัฒนธรรมในคาบสมุทรมลายู 3 ประเทศ ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย
           สาธารณรัฐอินโดนีเซีย และประเทศไทย สร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้เมืองยะลาเป็นศูนย์กลาง
           แฟชั่นเครื่องแต่งกายมลายู (HUB)  การสร้างองค์ความรู้ด้านผ้ามลายู ผ่านการจัดกิจกรรม



        รางวัลพระปกเกล้า’ 66
   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134