Page 123 - kpiebook67015
P. 123

116


           ทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับตัวมาใช้รูปแบบการจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์
           ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สามารถดึงดูดกลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย ซึ่งผู้ประกอบการต้องรับภาระ

           ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ประกอบกับแนวนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งขับเคลื่อน
           “ซอฟต์พาวเวอร์” โดยใช้กระแสความเป็นไทย เพื่อสร้างรายได้และภาพลักษณ์ที่ดีให้กับ
           ประเทศ เป็นเครื่องมือในการเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ Creative Economy ที่มา
           จากองค์ความรู้ ทรัพย์สินทางปัญญา และการวิจัย เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมทางประวัติศาสตร์

           สั่งสมความรู้ของสังคม เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อใช้ในการพัฒนารูปแบบธุรกิจ การผลิต
           สินค้าและบริการในรูปแบบใหม่ ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากด้วยมิติทางวัฒนธรรม นำเสนอ
           สู่สาธารณะผ่านอัตลักษณ์พื้นถิ่น สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและคุณค่าทางสังคม
           โดยสอดคล้องกับประเภทการจำแนกของโครงการนวัตกรรมด้านการพัฒนาเมืองและชุมชน

           อย่างยั่งยืน เป็นโครงการที่มุ่งเน้นการยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจที่มาจากฐานราก ส่งเสริม
           ช่องทางการตลาด และการอนุรักษ์ผ้าพื้นถิ่นจังหวัดยะลาสู่การสร้างแบรนด์ในตลาดสากล
           มุ่งส่งเสริมประชาชนทุกกลุ่มวัย และผู้ที่สนใจได้ร่วมเรียนรู้และเพิ่มมูลค่าทางอัตลักษณ์
           แนวทางพัฒนาภูมิปัญญาลายผ้าท้องถิ่น มีเวทีในการแสดงความสามารถความคิดสร้างสรรค์

           ในการออกแบบเครื่องแต่งการผ้าพื้นเมือง ผ้าลายท้องถิ่น และสามารถนำองค์ความรู้ เทคนิค
           ใหม่ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้เสริมสร้างคุณค่าทางสังคม เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจระดับสากล




































        รางวัลพระปกเกล้า’ 66
   118   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128