Page 121 - kpiebook67015
P. 121
11
การดำเนินงานภายใต้แนวคิดที่กล่าวมา เทศบาลนครยะลาคำนึงถึงกระบวนการสร้าง
การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน มุ่งเน้นให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง ผลักดันและขับเคลื่อนเมือง
ให้เดินไปข้างหน้าโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ความเข็มแข็งจากทุกภาคส่วนส่งผลให้เทศบาล
นครยะลาดำเนินงานพัฒนาเมืองให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ในระยะ 10 ปี สู่การเป็น
“เมืองนวัตกรรมอยู่ดีมีสุข” (SMART Green Growth City) เมืองและพลเมืองมีศักยภาพ
ในการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยกำหนดเป้าหมายการพัฒนาเมืองใน 3 มิติ ได้แก่
1) การพัฒนาคุณภาพชีวิต
2) การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ และ
3) การพัฒนาองค์ความรู้เทคโนโลยี
ทั้งนี้ เทศบาลนครยะลาให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี พร้อมกับการกำหนดเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เพิ่มความหวังต่อเมือง
ให้กับคนรุ่นใหม่ที่จะทำหน้าที่ขับเคลื่อนความเจริญของเมืองในระยะยาว เพื่อเกิดการสร้าง
ความได้เปรียบเชิงร่วมมือ (Collaborative Advantage) กับพันธมิตรระดับพื้นที่เชื่อมโยง
และระดับกลุ่มจังหวัดแทนการพัฒนาแบบการแข่งขันกันเอง จึงได้กำหนดบทบาทของ
เมืองยะลาให้เป็นผู้ส่งเสริม ความเจริญของทั้งกลุ่มจังหวัดโดยพันธกิจของนครยะลาคือ
“การพัฒนาคน ให้เป็นผู้ขับเคลื่อนความยั่งยืนชายแดนใต้” มีบทบาทหลักในการพัฒนา
ทุนมนุษย์ และนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน สามารถส่งต่อ
มูลค่าเพิ่มให้กับทั้ง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
รางวัลพระปกเกล้า’ 66