Page 117 - kpiebook67015
P. 117
110
โดยแต่ละหน่วยงานมีการแบ่งบทบาทหน้าที่ มีการดำเนินการร่วมกันภายใต้ศูนย์
รับแจ้งเหตุและสั่งการการแพทย์ฉุกเฉิน ดังนี้
= องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี จัดทำและดำเนินโครงการและประสานงาน
เครือข่ายต่าง ๆ จัดซื้อรถพยาบาลและอุปกรณ์เพื่อขยายโอกาสจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการ
และร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังพัฒนาโปรแกรม
ฐานข้อมูลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง และนำมาใช้เป็นจังหวัดแรก
= สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี สนับสนุนด้านหลักวิชาการ องค์ความรู้
แนวทางการปฏิบัติงานและสั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
= โรงพยาบาลศูนย์เจ้าพระยายมราชจังหวัดสุพรรณบุรี สนับสนุนเจ้าหน้าที่ประจำ
ศูนย์รับแจ้งเหตุฯ ให้ช่วยปฏิบัติงานและเป็นพี่เลี้ยงในการจัดตั้งศูนย์ และเป็นวิทยากร
ในการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกฉิน
= สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ สนับสนุนด้านองค์ความรู้ แนวทาง ข้อกฎหมาย
ต่าง ๆ รวมไปถึงการพัฒนาระบบปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินที่ทันสมัย
= โรงพยาบาลประจำอำเภอ ทั้ง 10 แห่ง รองรับผู้ป่วยอุบัติเหตุและเจ็บป่วยฉุกเฉิน
ในแต่ละพื้นที่ พร้อมทั้งสนับสนุนวัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์ให้หน่วยปฏิบัติการการแพทย์
ฉุกเฉิน
= หน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและมูลนิธิต่าง ๆ
เป็นกำลังหลักในพื้นที่ที่ออกให้บริการประชาชนเป็นลำดับแรกเมื่อได้รับการแจ้งเหตุ เพื่อเข้า
ประเมินพื้นที่ ประเมินผู้ป่วย ให้การช่วยเหลืออย่างถูกต้องและปลอดภัย เพื่อนำผู้ป่วยส่ง
โรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาต่อไป
= บริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด เป็นหน่วยสนับสนุนด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร
และระบบปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินที่ทันสมัยและพร้อมให้บริการประชาชนตลอด
24 ชั่วโมง
ผลจากการร่วมมือกันดำเนินการในรูปแบบเครือข่ายอย่างเข้มแข็งทำให้จังหวัด
สุพรรณบุรีมีศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการการแพทย์ฉุกเฉินที่มีการเชื่อมโยงเครือข่าย
ความร่วมมือระหว่างสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลประจำจังหวัด โรงพยาบาล
ประจำอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในจังหวัดสุพรรณบุรี มหาวิทยาลัย กลุ่มองค์กร
รางวัลพระปกเกล้า’ 66