Page 39 - kpiebook67002
P. 39

ช่องทางการสื่อสารในรูปแบบแพลตฟอร์มออนไลน์ แต่ละช่องทางต่างมีคุณสมบัติที่แตกต่างและมีเอกลักษณ์

               เฉพาะกัน ดังนี้

                       3.1.1 สถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา
                       การสื่อสารเป็นเครื่องมือถ่ายทอดความคิด สร้างความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน โดยการสร้างช่อง

               ทางการสื่อสารเพื่อเป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดซึ่งกันและกัน ซึ่งช่องทางการสื่อสารอย่าง สื่อวิทยุ

               รัฐสภาเป็นสื่อที่สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ฟังได้ง่าย รวดเร็ว และสามารถสร้างความใกล้ชิดระหว่างผู้ฟังกับผู้จัด
               รายการได้ด้วย อีกทั้งหน่วยงานของรัฐหรือสถาบันทางการเมืองที่ใช้สื่อวิทยุสามารถที่จะกระจายนโยบายหรือ

               แนวทางในการบริหารต่าง ๆ ไปยังประชาชนได้อย่างรวดเร็ว ใช้เวลาน้อย ตามประวัติศาสตร์ทางการเมืองที่
               ผ่านมาพบว่ารัฐบาลไทยได้ใช้สื่อวิทยุเป็นช่องทางการสื่อสารในการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และแจ้งแถลง

               นโยบายต่าง ๆ ให้ประชาชนได้ทราบและรับรู้ในวงกว้าง อีกทั้งในประวัติศาสตร์การเมืองของไทยนั้น ยังพบอีกว่า

               ช่องทางการสื่อสารอย่างวิทยุ ได้กลายเป็นเครื่องมือส าคัญทางการเมืองที่ใช้ในการส่งผ่านแนวคิดต่าง ๆ
               ของประชาชน และรัฐเองก็ใช้วิทยุในการกระจายนโยบายหรืออุดมการณ์ทางการเมืองที่รัฐต้องการไปยัง

               ประชาชนเช่นกัน

                       สถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภาเป็นสื่อวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกและเพียงสถานีเดียวของฝ่ายนิติ

               บัญญัติสังกัดส านักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร รัฐสภาเป็นเจ้าของสื่อตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายข้อมูล
               ข่าวสารทางราชการเพื่อเผยแพร่ผ่านสื่อวิทยุกระจายเสียงของทางราชการ มีบทบาทภารกิจในการถ่ายทอด

               เสียงการประชุมรัฐสภา การประชุมสภาผู้แทนราษฎร และการประชุมวุฒิสภา อีกทั้งมีหน้าที่หลักในการ

               ประชาสัมพันธ์เผยแพร่สาระความรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในระบบ
               รัฐสภา กระบวนการทางด้านนิติบัญญัติ ตลอดจนกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐสภา รวมไปถึงกิจกรรม แนวคิด

               ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาเพื่อเป็นการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจระหว่างสมาชิกรัฐสภากับ
               ประชาชน ในส่วนของการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้ข่าวสารการเมืองนั้นเป็นไปเพื่อการเสริมสร้างองค์

               ความรู้ทางด้านประชาธิปไตย และส่งเสริมผลักดันให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองตามระบอบ

               ประชาธิปไตย

                       1) ความเป็นมาของสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา

                       เมื่อพ.ศ. 2532 คณะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎรได้มีแนวคิดในการก่อตั้งสถานี

               วิทยุกระจายเสียงของรัฐสภาเพื่อเป็นสื่อกลางในการน าเสนอข่าวสารเกี่ยวกับฝ่ายนิติบัญญัติโดยเฉพาะ

               ตามค าสั่งรัฐสภาที่ 8/2532 พร้อมกับตั้งคณะกรรมการเพื่อเตรียมการจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา
               อันจะเป็นช่องทางการสื่อสารในการเผยแพร่กิจกรรมและผลการด าเนินงานของรัฐสภาไปสู่ประชาชนใน

               รูปแบบรายการและข่าว จนในที่สุดสถานีวิทยุรัฐสภาได้เริ่มเปิดด าเนินการทดลองออกอากาศครั้งแรกในวันที่
               18 เมษายน พ.ศ. 2537 โดยในช่วงแรกนั้นรายการวิทยุรัฐสภาได้ออกอากาศตั้งแต่เวลา 06.00 – 09.00 น.








                                                           38
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44