Page 167 - kpiebook66032
P. 167
จากจำนวนสุนัข-แมวในพื้นที่มีจำนวนลดลง แสดงให้เห็นว่าประชาชนมีความเข้าใจ
ในเรื่องนี้มากขึ้น ปัจจุบันเทศบาลฯ จะเป็นฝ่ายรับแจ้งข้อมูลจากชาวบ้านให้เข้าไปในพื้นที่
เมื่อพบกับสุนัข-แมวที่ยังไม่ได้รับการดูแล
“ประชาชนในเขตพื้นที่ให้เข้าไปช่วยดูแล สอดส่อง ตัวไหนที่ยังไม่ทำหมัน
หรือตัวไหนที่มีลักษณะที่อาจก่อให้เกิดอันตรายกับคนในพื้นที่เขาจะโทรมาที่
เทศบาลฯ ซึ่งเทศบาลฯ เป็นฝ่ายพิจารณาว่าเรื่องไหนเป็นบทบาทของเครือข่ายใด
แล้วทำการประสานภาคีเครือข่ายให้เข้ามาดูแลตามความรับผิดชอบที่แบ่งหน้าที่ ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)
กันไว้ แต่ช่วงนี้ ประชากรสุนัขและแมวในเขตเทศบาลค่อนข้างที่จะเพิ่มขึ้นน้อย
เพราะว่าหลายคนมาทำหมัน ให้วัคซีน แล้วก็มีการทำความเข้าใจมากขึ้น” 196
“เราทำกันอย่างต่อเนื่อง กระจายในทุกชุมชน ที่อื่นอาจทำแค่เป็นครั้ง ๆ
เช่น หน้าร้อน สงกรานต์ แต่ของที่นี่ทำตลอดต่อเนื่อง ครอบคลุมพื้นที่ทุกชุมชน
ทุกช่วงเวลา” 197
กรณีเป็นสุนัข-แมวจรที่อยู่บริเวณโรงแรม เดิมทีจะเห็นจำนวนมากและไม่ได้รับ
การดูแล แต่ปัจจุบันอาศัยประชาชนแถวนั้นคอยสังเกต เมื่อพบว่ามีสุนัข-แมวตัวใหม่ที่เข้ามาใน
บริเวณนั้น ก็จะแจ้งมูลนิธิหรือเทศบาลให้เข้ามาช่วยดู
“ปัจจุบันจากชาวบ้านที่เฉย ๆ กับเรื่องหมาแมว กลายเป็นเจอหมาแมว
ตัวใหม่ก็แจ้งมูลนิธิฯ ให้มาช่วยทำหมัน จึงจบแบบสัตว์อยู่ด้วยกันกับคนได้แบบ
ไม่ทำร้ายกัน และสัตว์ก็อาศัยอยู่ที่เดิม เช่น กรณีมีแมวเกิดแล้วนำมาทิ้งที่โรงแรม
ทางเราไปทำหมันให้ ปรากฏว่าแมวก็สามารถอาศัยอยู่บริเวณนั้นได้ และไม่เพิ่ม
ประชากรแมว” 198 ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่น
จากการสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจในการแก้ปัญหาสุนัข-แมว ทำให้แกนนำชุมชน
มองว่า ไม่ได้แค่ทำให้คุณภาพชีวิตของคนและสัตว์ดีขึ้นเท่านั้น แต่โยงไปถึงภาพลักษณ์ที่ดีใน
ระดับจังหวัด ในฐานะที่ภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยว เมื่อเกิดความเข้าใจและเห็นว่าเป็นประโยชน์
ต่อคนในพื้นที่ จึงกลายเป็นความเต็มใจที่จะช่วยดูแลพื้นที่ตนเอง
196 Personal communication, 9 มกราคม 2566.
197 Personal communication, 16 มกราคม 2566.
198 Personal communication, 16 มกราคม 2566.
สถาบันพระปกเกล้า 1 1