Page 94 - kpiebook66030
P. 94

สรุปการประชุมวิชาการ
           สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
       ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย


                 นอกจากนี้ ประเด้นความท้าทายใหม่ที่เกิดขึ้นไม่ได้จำกัดอยู่เพียงประเทศใดประเทศหนึ่ง
           เท่านั้น แต่เป็นความท้าทายที่ส่งผลกระทบกับหลาย ๆ ประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ความก้าวหน้า
           ของเทคโนโลยีซึ่งแม้จะก้าวหน้า แต่กลับถูกนำไปใช้ทางด้านการทหาร ทำให้เกิดสงคราม
           รวมไปถึงส่งผลให้เกิดการย้ายถิ่นฐานหรือผู้พลัดถิ่นจำนวนมากทั่วโลก ประเด็นเรื่อง

           ความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก็เป็นความท้าทายใหม่ที่สำคัญ นอกจากจะส่งผลกระทบ
           ทางลบแล้ว ยังเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยากมาก เช่น การละลายของน้ำแข็งขั้วโลก เป็นต้น
           ในทางกลับกัน หลาย ๆ ประเทศยังคงยึดโยงกับความท้าทายเดิม ๆ เช่น ความท้าทายของ

           ทางการเมือง ทางการทหาร ทำให้เมื่อต้องรับมือกับความท้าทายใหม่ เช่น สถานการณ์
           โควิด-19 ภาครัฐหรือภาคการเมืองอาจไม่มีขีดความสามารถในการรับมือกับปัญหาเหล่านี้ได้
           แม้จะเป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยก็ตาม ดังนั้น ถึงเวลาที่ทุกคนต้องร่วมมือ
           กัน ต้องคำนึงถึงการปฏิบัติในวงกว้าง ไม่ใช่เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ความมั่นคงในแบบดั้งเดิมจะต้อง
           เป็นส่วนหนึ่งในการรับมือกับความท้าทายใหม่ รวมถึง ต้องยึดมั่นในการรักษาความเป็น

           ประชาธิปไตยด้วย นอกจากนี้ ประชาชนในฐานะพลเมือง และรัฐต้องมีการปรับตัว
           ปรับบทบาทหรือขอบเขตของหน่วยงาน หรือแม้แต่องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนต้องหาจุดสมดุล
           ในการดำเนินการ โดยยึดโยงกับคำว่า “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” โดยต้องปรับเปลี่ยนมุมมอง

           ในการรับมือและแนวคิดในการรับมือ แทนที่จะทำงานคนเดียว แต่ต้องอาศัยความร่วมมือกัน
           โดยอาศัยความเป็นพหุภาคี ดำเนินการในหลาย ๆ ระดับตั้งแต่ระดับพื้นที่ ระดับประเทศ
           และระหว่างประเทศ รวมถึงต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของทุกคน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ
           ภาคการเมือง ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน ส่วนประเด็นด้านระบอบการปกครอง
           ก็มีความสำคัญต่อการรับมือกับความท้าทายนี้เช่นกัน ประชาธิปไตยไม่ใช่สิ่งยืนยันว่า

           การดำเนินการต่าง ๆ จะประสบความสำเร็จ หรือแม้แประเทศที่พัฒนามากแล้วก็ตาม แต่ใน
           ช่วงเวลานี้ การที่จะสามารถรับมือกับความท้าทายของความมั่นคงใหม่ ต้องมีความยืดหยุ่น
           (Resilience) และมีความสามารถในการฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับขีดความสามารถ
    การอภิปรายมุมมองและประสบการณ์จากต่างประเทศ
           ของภาครัฐ ที่ต้องมีความรู้ความสามารถที่หลากหลาย ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย
           กลายเป็นบทบาทสำคัญในการช่วยให้ประเทศฟื้นตัวได้ โดยอาศัยหลักการของประชาธิปไตย
           ได้แก่ ความโปร่งใส หลักนิติธรรม รัฐต้องมีความโปร่งใสในการรายงานสถานการณ์จริง
           ไม่ควรปิดบังปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อที่จะสามารถรับมือและหาแนวทางแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที
           เช่น จำนวนผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 หรือแม้แต่ประเด็นด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เพื่อลด

           การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งนี้ เพื่อเป็นการปกป้องคุ้มครองสิทธิของมนุษยชน รวมถึง
           สิทธิของสตรีและเด็ก และประเด็นที่สำคัญคือ สิ่งท้าทายใหม่นี้เป็นปัญหาระดับสากล
           เป็นปัญหาหรือความท้าทายที่ต้องช่วยกันในระดับพหุภาคี ดังนั้น ต้องหาเครือข่ายมาร่วม

           แก้ปัญหา ไม่ว่าจะเป็น เครือข่ายต่างประเทศ และในประเทศ มีการรับฟังความคิดเห็นจาก
           ทุกภาคส่วน เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้เข้ามามีส่วนร่วม ดำเนินการร่วมกันในหลาย ๆ
           ระดับ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและทำให้ความรุนแรงของปัญหาเหล่านี้ให้ลดลง
   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99