Page 91 - kpiebook66030
P. 91
สรุปการประชุมวิชาการ 1
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย
แม้จะไม่ได้มีสูตรสำเร็จ แต่เราจำเป็นต้องมีความมุ่งมั่นที่จะปลูกฝังหรือฟูมฟักหลักการของ
ประชาธิปไตยให้กับคนในสังคม รวมถึงภาคการเมือง ภาครัฐ สำหรับประเทศเกาหลีใต้ซึ่งถือว่า
มีขีดความสามารถที่ค่อนข้างสูง จึงสามารถรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น
การระบาดของโรคโควิด-19 การแบ่งขั้วทางการเมือง หรือการให้ข้อมูลเท็จ แต่อย่างไรก็ตาม
แม้ภาครัฐจะมีความเข้มแข็ง แต่ไม่ควรให้รัฐใช้อำนาจหรือทำทุกอย่างตามความต้องการ
เพราะอาจเกิดการใช้อำนาจในทางที่ผิดได้ ดังนั้น ต้องมีภาคประชาสังคมที่คอยตรวจสอบ
การทำงานของภาครัฐด้วย
ข้อสรุปสำหรับกรณีศึกษาจากประเทศเกาหลีใต้ คือ ถ้าขีดความสามารถของทาง
ภาคการเมืองยังไม่แข็งแกร่งนัก ดังนั้น ควรเพิ่มขีดความสามารถของทางภาครัฐ และ
ภาคประชาสังคม รวมถึงทางสถาบันที่อาจมีส่วนช่วยรับมือกับความท้าทายใหม่ที่เกิดขึ้น
อันสืบเนื่องมากจากการแบ่งขั้วทางการเมือง หรือการให้ข้อมูลเท็จต่าง ๆ สำหรับประเทศไทย
ต้องพิจารณาว่ามีความเชี่ยวชาญหรือมีความเข้มแข็งด้านไหน เช่น ภาครัฐ ภาคการเมือง
หรือ ภาคประชาสังคม แล้วก็เน้นให้ความสำคัญด้านนั้นเป็นหลัก นอกจากนี้ ต้องพยายามที่จะ
ปรับปรุงขีดความสามารถในส่วนที่ยังคงสามารถปรับปรุงได้ แล้วก็พยายามที่จะฟูมฟักหรือ
ปลูกฝังหลักการของประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในสังคมต่อไป
Mr. Renaud Meyer:
เริ่มต้นด้วยการเกริ่นถึงหน้าที่หลักของ UNDP ซึ่งเกี่ยวข้องกับการพัฒนามนุษย์
โดยในแต่ละปีจะมีรายงาน Human Development โดยในปี 2021/2022 ใช้ชื่อว่า Uncertain
Times, Unsettled Lives: Shaping our Future in a Transforming World เนื่องจาก
ในช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่มีความไม่แน่นอนสูง การใช้ชีวิตยังไม่ลงตัว การดำเนินชีวิต
ยังไม่เข้าที่ ซึ่งเกิดจากสถานการณ์การพลิกผันที่เกิดขึ้น เช่น สถานการณ์โควิด-19 แม้จะมี
ผู้กล่าวว่าวิกฤตภูมิอากาศ ก็เป็นสถานการณ์ที่พลิกผัน แต่มันเกิดขึ้นในระยะเวลาที่ยาวนาน
และเราสามารถที่จะลดความรุนแรงจากผลกระทบนั้นได้ แต่อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้
ความท้าทายที่เกิดขึ้นมีการสั่งสมเพิ่มขึ้นทุกทีและมีความซับซ้อนมากขึ้น หยั่งรากลึกลงไป และ
เกี่ยวพันกับภาคส่วนต่าง ๆ หลายภาคส่วน ทั้งที่แต่เดิมอาจแบ่งแยกกัน ซึ่งเป็นต้องนำมา
พิจารณาในเรื่องของความมั่นคง โดย UNDP ไม่ได้เน้นแค่ความมั่นคงที่เกี่ยวข้องกับ
หลักนิติธรรม การใช้กำลัง หรือการบังคับใช้กฎหมายเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมหลาย ๆ ด้าน
ของชีวิต UNDP พยายามสนับสนุนแนวคิดความมั่นคงของมนุษย์ ที่ไม่ได้เน้นแค่เรื่องของ การอภิปรายมุมมองและประสบการณ์จากต่างประเทศ
ดินแดน แต่เน้นที่ผู้คนที่อยู่ในดินแดนต่าง ๆ ด้วย นอกจากนี้ ความมั่นคงยังเป็นเครื่องมือ
ที่จะไปสู่การบรรลุสิทธิของประชาชน เพราะจำเป็นต้องมีความมั่นคงปลอดภัยเพื่อทำให้ทุกคน
สามารถเข้าถึงสิทธิของตนได้ และสิทธิดังกล่าวนั้นต้องกำหนดไว้ทั้งในกฎหมายและ
ในรัฐธรรมนูญ และมีการสร้างสิทธิใหม่ขึ้นมาด้วย ล่าสุดคือ การตัดสินใจของรัฐภาคีของ
สหประชาชาติที่จะต้องเคารพสิทธิที่จะมีสิ่งแวดล้อมที่ดี โดยวิกฤตสภาพภูมิอากาศถือว่า