Page 93 - kpiebook66030
P. 93

สรุปการประชุมวิชาการ
                                                                               สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
                                                                                ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย


             ความคิดเห็น ดังนั้น การที่จะสามารถส่งเสริมรายได้และอาชีพให้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนา
             ความผสมผสานในสังคม และนำเยาวชนคนรุ่นใหม่จากหลายพื้นที่มาร่วมพูดคุย มาร่วมงาน
             ในโครงการด้านเศรษฐกิจด้วยกัน ก็จะเป็นแนวคิดใหม่ที่จะทำให้คนในสังคมมีความเข้าใจ
             สถานการณ์ในองค์รวมมากขึ้น


                   อีกประเด็นหนึ่งคือ เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17 ข้อ ซึ่งทุกข้อมีความเกี่ยวข้อง
             สัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ UNDP มีหน้าที่ในการบูรณาการเป้าหมายเหล่านี้ให้บรรลุผลร่วมกัน
             โดยการพิจารณาในมุมกว้าง คิดหาทางออกแบบองค์รวม เพื่อที่จะสามารถเคลื่อนไปข้างหน้าได้
             และที่สำคัญ คือ ต้องครอบคลุมทุกคนในสังคม ต้องมีการสร้างพลังอำนาจให้กับประชาชน

             ซึ่งไม่เพียงมองประชาชนเป็นปัจเจกชนเท่านั้น แต่ให้มองในลักษณะของสถาบัน โดยใช้แนวคิด
             ของการกระจายอำนาจ ซึ่งถือว่าเป็นแนวคิดที่ท้าทายมากในประเทศไทย เพราะโครงสร้างของ
             รัฐมีลักษณะรวมศูนย์มาโดยตลอด อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่ามีทิศทางที่ดีขึ้น อย่างค่อยเป็น

             ค่อยไป เช่น การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถประกาศมาตรการฉุกเฉินในการรับมือกับ
             สถานการณ์โควิด-19 ของแต่ละจังหวัดได้ เป็นต้น สุดท้าย คุณ Renaud ได้สรุปปัจจัยหลัก
             ที่สามารถรับมือกับความมั่นคงใหม่ และการถดถอยของประชาธิปไตย ได้แก่ การบูรณาการ
             การรวมเป็นส่วนหนึ่ง การเสริมพลัง และการกระจายอำนาจ

             Prof.	Mely	Caballero-Anthony:


                   ได้กล่าวถึงประเด็นความมั่นคงไม่ตามแบบ (non-traditional security) โดยในช่วง
             20 ปีที่ผ่านมา เป็นช่วงเวลาของความไม่แน่นอน การจะทำให้ความเป็นอยู่มีความมั่นคง

             โดยไม่ใช่ในแง่ของรัฐเท่านั้น แต่เป็นความมั่นคงของทุกคนบนโลกนี้ ซึ่งแรงผลักดันหลัก ๆ
             ที่เป็นตัวกำหนดทิศทางของโลกคือ โลกาภิวัตน์ แม้ว่าจะมีสถานการณ์โควิด-19 มีข้อจำกัดเรื่อง
             การด้านการเคลื่อนย้าย แต่ยังเห็นถึงความพยายามร่วมกันในการรับมือกับปัญหาที่เป็น
             ภัยคุกคามระดับโลกนี้จากการมีเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ทำให้เราสามารถร่วมมือกันได้ และมี

             การพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยีที่ทำให้โลกกลายเป็นหนึ่งเดียว แต่อย่างไรก็ตาม
             การที่เทคโนโลยีก้าวล้ำมากเกินไปทำให้เกิดผู้เล่นหรือผู้ที่มีบทบาทสำคัญเกิดขึ้น บางส่วน
             กลายเป็นอาชญากรทางไซเบอร์ รวมถึงความท้าทายใหม่ ๆ เช่น การให้ข้อมูลเท็จ ข่าวลวงต่าง ๆ
             มีการแบ่งพรรคแบ่งพวก เป็นฝักเป็นฝ่ายอย่างชัดเจนมากขึ้น หากกล่าวถึงสถานการณ์

             โควิด-19 แม้เทคโนโลยีจะทำให้ประชาชนสามารถใช้ชีวิตอย่างง่ายดายมากขึ้น แต่เทคโนโลยี
             เหล่านี้ยังส่งผลกระทบทางลบให้กับประชาชนจำนวนมากทั่วโลก รัฐบาล และสิ่งแวดล้อม เช่น        การอภิปรายมุมมองและประสบการณ์จากต่างประเทศ
             สร้างความแตกต่างอันเนื่องมากจากฐานะของคน คนรวยและคนจน ช่องว่างระหว่างกลุ่มคน
             เริ่มห่างกันมากขึ้น กลุ่มคนและกลุ่มประเทศถูกผลักให้เป็นคนชายขอบมากขึ้น เกิดความ

             เหลื่อมล้ำและความไม่เสมอภาคในสังคมมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลต่อการแตกแยก
             และการไม่เชื่อมั่นในรัฐบาล ทำให้เกิดความถดถอยในด้านประชาธิปไตยได้เช่นกัน ดังนั้น เพื่อจะ
             สามารถรับมือกับปัญหานี้ได้ ต้องพยายามเสริมสร้างประชาธิปไตยให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น
   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98