Page 92 - kpiebook66030
P. 92

2   สรุปการประชุมวิชาการ
           สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
       ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย


           เป็นความท้าทายที่เกิดขึ้นกับการดำรงชีวิตและระบบเศรษฐกิจ ซึ่งหากคิดในแง่นี้ถือว่ามีพลวัต
           เชิงลบที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา นอกจากการพลิกผันต่าง ๆ ที่เป็นปรากฏการณ์ขึ้นมาแล้ว
           จะเห็นได้ว่ายังไม่สามารถคาดการณ์ได้และจะยิ่งซับซ้อนมากขึ้นด้วย


                 สำหรับประเด็นความมั่นคงใหม่ โดยสรุปอาจกล่าวได้ว่า ความมั่นคงจะต้องประกอบด้วย
           ความเป็นอิสระจากความกลัว (Freedom from fear) และความมีอิสระจากความต้องการ
           (Freedom from want) รวมถึง คุณภาพชีวิตของมนุษย์ จึงกลายเป็นสิ่งที่ได้รับความสำคัญ
           อย่างมาก สิ่งที่ UNDP ดำเนินการคือ นำแนวคิดมาประกอบกับบริบทว่าสามารถทำอะไรได้
           บ้าง ทำไมถึงเชื่อมโยงกับประชาธิปไตย และทำไมถึงมีความสำคัญ โดยคำตอบที่ได้คือ

           เนื่องจากประชาธิปไตยยังคงเป็นระบบที่ดีที่สุดในการปกครอง เป็นระบบทางการเมืองและ
           ระบอบการปกครองที่สามารถรับประกันสิทธิมนุษยชนได้ แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน กำลัง
           เผชิญกับจำนวนของประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยที่ลดลง และมีการเพิ่มขึ้นของ

           รัฐบาลอำนาจนิยมขึ้นมาทดแทน

                 จากรายงานการพัฒนามนุษย์แสดงให้เห็นถึงสถิติที่อยู่ในสภาวะที่แย่ โดยพบว่า 6 ใน 7 คน
           ในโลกรู้สึกไม่มั่นคง และหากไปเชื่อมโยงกับปัญหาการถดถอยของประชาธิปไตยในโลกจะยิ่งทวี
           ความไม่มั่นคง ไม่ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าคนที่รู้สึกไม่มั่นคงจะต้องเรียกร้องให้รัฐ

           มีมาตรการหรือโคงสร้างรัฐที่เข้มงวดมากขึ้นเพื่อมาปกป้องสิทธิของพวกเขา ซึ่งจริง ๆ แล้ว
           การที่เรียกร้องให้มีความแข็งแกร่งเพิ่มขึ้นในการบังคับใช้กฎหมาย อาจทำให้ต้องสละสิทธิ
           บางอย่างไปก็ได้ เช่น สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 มีหลายประเทศที่ใช้มาตรการ
           ฉุกเฉินเข้ามาควบคุมการมีเสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพในการพูด เสรีภาพในการชุมนุม

           สำหรับประเทศไทย หากพิจารณาในแง่ดี จะเห็นได้ว่ามีกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคง
           มนุษย์ ซึ่งแสดงว่าประเทศไทยมีการนำแนวคิดเรื่องความมั่นคงของมนุษย์มาทำให้เป็นสถาบัน
           อย่างถาวรแล้ว
    การอภิปรายมุมมองและประสบการณ์จากต่างประเทศ
                 คุณ Renaud ยังได้ยกตัวอย่างการจัดการความมั่นคงของ UNDP เช่น การจัดฝึกอบรม

           ด้านความมั่นคงของมนุษย์ให้กับสภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ
           ทั่วประเทศ ผู้เข้าร่วมมาจากหลายภาคส่วน ทั้งภาคประชาสังคม ประชากรที่เปราะบาง เช่น
           กลุ่มคนพิการ กลุ่มชาติพันธุ์ คนชายขอบ เป็นต้น ซึ่งกลุ่มเปราะบางนี้ถือเป็นกลุ่มที่ถูกลิดรอน
           สิทธิอย่างมาก นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึงความมั่นคงทางภูมิอากาศ โดยเป็นการทำความเข้าใจ

           ถึงกิจกรรมที่คุกคามความปลอดภัยของประชาชน และกิจกรรมที่ประชาชนคุกคามต่อระบบ
           นิเวศ อีกประเด็นความท้าทายคือ ปัญหาชายแดนใต้ UNDP ในฐานะหน่วยทำงานการพัฒนา
           ได้พยายามหาทางออกโดยการไกล่เกลี่ยและให้ฝ่ายต่าง ๆ มาพบกัน พยายามแยกแยะ
           ประเด็น และฝึกอบรมด้านการเจรจาปรองดอง โดยในปัจจุบันมีการเน้นที่สภาพแวดล้อม

           ที่เอื้ออำนวยให้เกิดการยุติความขัดแย้งและการสร้างสันติภาพ ซึ่งเน้นไปที่รากเหง้าของปัญหา
           โดยประเด็นสำคัญอยู่ที่สังคมและเศรษฐกิจ เช่น การไม่มีงานทำ ไม่มีพื้นที่สำหรับแสดง
   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97