Page 82 - kpiebook66029
P. 82

สถาบันพระปกเกล้า
             King Prajadhipok’s Institute
          ใช้สื่อช่องทางใดในการรับข่าวการเมืองและติดตามเหตุการณ์ในแต่ละวันมากที่สุด ส่วนใหญ่

          ร้อยละ 76.3 ระบุว่า ติดตามทางสื่อสังคมออนไลน์ และ การติดตามทางหนังสือพิมพ์ เหลือเพียง
          ร้อยละ 2.7 ซึ่งแนวโน้มการอ่านหนังสือในรูปแบบสิ่งพิมพ์มีอัตราลดลงมาก ซึ่งสอดคล้อง
          กับงานวิจัยของสำานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (2553) ที่สำารวจครอบครัวไทย
          ยุคใหม่ในงานสัมมนาเชิงวิชาการ เรื่องยุทธศาสตร์การส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และการ
          เสริมสร้างความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมของสังคมไทย โดยความร่วมมือกับสถาบันรามจิตติ
          พบว่า เด็กมีแนวโน้มการอ่านหนังสือพิมพ์น้อยลง และน้อยกว่าผู้ใหญ่ชัดเจน มีเด็กร้อยละ 30
          เท่านั้นที่ยังอ่านหนังสือพิมพ์ และ งานของบัญชา สำารวยรื่น และ คณะ (2559) ที่ศึกษา
          สภาวการณ์เยาวชนในสถาบันอุดมศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏ
          พิบูลสงคราม โดยภาพรวม พบว่า นักศึกษามีโทรศัพท์มือถือที่เข้าอินเทอร์เน็ตได้เฉลี่ย

          ร้อยละ 97.28 และมักใช้เวลาอยู่กับสื่อชนิดต่าง ๆ เฉลี่ย 6-9 ชั่วโมงต่อวัน ขณะที่สภาวการณ์
          ที่น่าเป็นห่วง คือ นักศึกษาใช้เวลาในการอ่านหนังสือเฉลี่ยเพียง 30 นาทีต่อวัน
               (4) จากผลการศึกษาครั้งนี้ ในเรื่อง ความไว้วางใจต่อคนกลุ่มต่าง ๆ และ สถาบันหลัก
          ต่าง ๆ ในสังคม ที่พบว่า เยาวชนไว้วางใจต่อ “คนในครอบครัว” ในระดับไว้ใจอย่างยิ่ง
          เป็นร้อยละที่สูงที่สุดถึง ร้อยละ 71.2 และ เยาวชนยังไว้วางใจต่อ “ศาล” ในระดับไว้ใจอย่างยิ่ง
          เป็นร้อยละที่สูงที่สุด (ร้อยละ 12.4) รองลงมา คือ มหาวิทยาลัย (โดยทั่วไป) (ร้อยละ 11.1)
          และ องค์กรศาสนา (ร้อยละ 9.4) ผลดังกล่าวสอดคล้องกับงานของจันทนา อุดม และ คณะ

          (2559) ที่ได้นำาเสนอบทบาท หน้าที่ และแนวทางการส่งเสริมการพัฒนาเยาวชนของสถาบันหลัก
          ทางสังคมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเยาวชนที่สำาคัญ 4 สถาบัน ได้แก่ (1) สถาบันครอบครัว
          ซึ่งเป็นสถาบันขั้นพื้นฐานที่สำาคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นจุดเริ่มต้นของสถาบันอื่น ๆ
          ในสังคม (2) สถาบันการศึกษา เป็นสถาบันที่มีบทบาทสำาคัญรองลงมาจากสถาบันครอบครัว
          มีหน้าที่สำาคัญ คือ ส่งเสริมให้สมาชิกในสังคมเกิดความเจริญงอกงามในด้านต่าง ๆ ให้เป็นคนดี
          มีศีลธรรม มีค่านิยมที่ดีงาม รู้จักสิทธิหน้าที่ที่ตนพึงปฏิบัติต่อสังคมและประเทศชาติ
          รวมทั้ง ส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและการปฏิรูปสังคมชีวิตการศึกษาของเยาวชน
          มีช่วงระยะเวลายาวนานหลายปี เยาวชนแต่ละคนใช้เวลาวันละหลายชั่วโมงอยู่กับครู
          (3) สถาบันศาสนา ซึ่งเป็นสถาบันที่ประกอบด้วย คำาสอน ความเชื่อ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ วัด และ

          คณะสงฆ์เป็นสถาบันที่มีหน้าที่เป็นศูนย์รวมความศรัทธา สร้างแบบแผนแนวทางการดำาเนินชีวิต
          ของสมาชิกในสังคม ส่งเสริมศีลธรรมจรรยาแก่เยาวชน และคนในชุมชน ด้วยการอบรมสั่งสอน



           5-4
   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87