Page 81 - kpiebook66029
P. 81

การศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพสังคมใหม่ :
                                                       คุณภาพสังคมในทัศนะของเยาวชน
                 (2) จากผลการศึกษา ที่พบว่า เยาวชนส่วนใหญ่ รับรู้ว่า เรื่อง “โอกาสทางการศึกษา”

            เป็นประเด็นที่มีความเท่าเทียมมากเป็นค่าร้อยละที่มากที่สุด ในขณะเดียวกัน เมื่อสอบถาม
            เยาวชนถึงความรู้สึกที่มีต่อสังคมที่อยู่อาศัย ซึ่งพบว่า เยาวชนรู้สึกว่าสังคมมีความเปิดกว้าง
            ปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 6.15, S.D=2.41) รู้สึกว่าเป็นสังคมที่ให้สิทธิ์ด้านต่าง ๆ ปานกลาง
            (ค่าเฉลี่ย = 6.27, S.D=2.45) รู้สึกว่าสังคมมีความปลอดภัยปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 6.28,
            S.D=2.23) และ รู้สึกว่าสังคมมีความน่าไว้วางใจปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 6.12, S.D=2.12)
            โดยมีระดับคะแนนใกล้เคียงกัน รวมทั้ง เมื่อสอบถามถึงความเป็นอิสระในการแสดงออก
            ทางความคิดในที่สาธารณะ และ/หรือการสื่อสาร ว่ามีอิสระหรือถูกกดดัน/ควบคุมจาก
            อิทธิพลภายนอก (เช่น อำานาจทางการเมือง) มากน้อยเพียงใด โดยให้เลือกระหว่างกดดัน/
            ควบคุมอย่างมาก-มีอิสระอย่างมาก (คะแนน 1-10) พบว่า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.42 คะแนน

            (S.D.=2.34) ซึ่งสะท้อนว่า เยาวชนรู้สึกไม่เป็นอิสระในการแสดงความคิดเห็นในที่สาธารณะ
            สอดคล้องกับผลการจัดอันดับดัชนีความก้าวหน้าทางสังคม (Social Progress Index - SPI)
            ปี 2020 ที่จัดทำาโดย Social Progress Imperative องค์กรสัญชาติอเมริกันที่ทำาวิจัย
            ด้านคุณภาพชีวิตของแต่ละประเทศ การจัดอันดับของ SPI ครั้งนี้ มาจากการประเมินตัวชี้วัด
            ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมมากถึง 12 หัวข้อ รวม 50 ปัจจัย ซึ่งครอบคลุม 3 มิติใหญ่
            ได้แก่ ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ (Basic Human Needs) โครงสร้างพื้นฐานเพื่อ
            ความเป็นอยู่ที่ดี (Foundation of Wellbeing) รวมถึงโอกาสทางสังคม (Opportunity and

            Inclusiveness) โดยประเทศไทยได้รับคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 70.72 ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นจาก 67.47
            ในปีที่ผ่านมา โดยอยู่ในอันดับที่ 79 จากทั้งหมด 163 ประเทศ และหากเทียบกันเองในอาเซียนแล้ว
            ประเทศไทยจะอยู่ในอันดับที่ 3 ซึ่งเป็นรองจากประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย แม้จะได้รับ
            ผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 แต่ประเทศไทยก็นับว่ามีความก้าวหน้าด้านคุณภาพชีวิต
            อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะปัจจัยด้านสุขภาพและอนามัย ด้านโอกาสการเข้าถึงการศึกษาขั้นสูง
            และด้านที่อยู่อาศัยที่ได้รับการจัดอันดับอยู่ที่ 43 54 และ 74 ตามลำาดับ แต่ในทางกลับกัน
            เรื่องที่ประเทศไทยต้องปรับปรุงโดยเร็ว คือ ปัจจัยด้านการเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐาน
            ความปลอดภัยและความมั่นคง และด้านสิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล ที่รั้งอันดับ 98 119
            และ 136 ตามลำาดับ (สำานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ, 2563)

                 (3) จากผลการศึกษาถึงความถี่ในการติดตามอ่าน ฟัง หรือ ดูข่าวจากหนังสือพิมพ์ วิทยุ
            โทรทัศน์ หรือ อินเทอร์เน็ตบ่อยครั้งเพียงใด พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 51.7 โดยเมื่อสอบถามว่า



                                                                        5-3
   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86