Page 73 - kpiebook66029
P. 73
การศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพสังคมใหม่ :
คุณภาพสังคมในทัศนะของเยาวชน
เมื่อสอบถามถึงความรู้สึกเป็นประชาธิปไตยว่า ประเทศไทยมีการปกครองที่เป็น
ประชาธิปไตยมากน้อยเพียงใด (คะแนน 1-10) พบว่า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12 คะแนน
(S.D.=2.32) ซึ่งสะท้อนว่า เยาวชนรู้สึกว่า ประเทศไทยมีการปกครองที่เป็นประชาธิปไตย
ไม่มากเท่าที่ควร และ เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความรู้สึกเป็นประชาธิปไตย
ตามระดับชั้น พบว่า นักเรียนชั้น ม.1 มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 5.01, S.D.=2.30)
่
และนักเรียนชั้น ม.5 มีค่าเฉลี่ยตำาที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 3.63, S.D.=2.17) ซึ่งค่าเฉลี่ยมีแนวโน้ม
ลดลง เมื่อนักเรียนอยู่ในระดับชั้นที่สูงขึ้น กล่าวคือ เมื่อเยาวชนมีอายุมากขึ้นจะมีความรู้สึก
ไม่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นด้วยเช่นกัน สรุปได้ดังตาราง 4-10
4.5.3 การติดตามข้อมูลข่าวสาร
เมื่อสอบถามเยาวชนถึงความถี่ในการติดตามอ่าน ฟัง หรือ ดูข่าวจากหนังสือพิมพ์ วิทยุ
โทรทัศน์ หรือ อินเทอร์เน็ตบ่อยครั้งเพียงใด พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 51.7 ติดตามเกือบทุกวัน
รองลงมา คือ ติดตาม 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ (ร้อยละ 16) และ ติดตาม 4-5 ครั้ง
ต่อสัปดาห์ โดยเมื่อสอบถามว่าใช้สื่อช่องทางใดในการรับข่าวการเมืองและติดตามเหตุการณ์
ในแต่ละวันมากที่สุด ส่วนใหญ่ ร้อยละ 76.3 ระบุว่า ติดตามทางสื่อสังคมออนไลน์ รองลงมา
คือ โทรทัศน์ (ร้อยละ 17.6)
เมื่อสอบถามว่า ได้มีกิจกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อทำาสิ่งใด พบว่า ส่วนใหญ่
ร้อยละ 27.4 ใช้ในการดูหนัง/ฟังเพลง รองลงมา คือ ใช้ในการค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อการศึกษา
หรือทำาการบ้าน (ร้อยละ 24.3) โดยเมื่อสอบถามว่า ช่องทางใดที่ใช้บริการบ่อยครั้งเกือบทุกวัน
พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 72.1 ใช้เฟซบุ๊ค รองลงมา คือ อินสตาแกรม (ร้อยละ 61.9)
ทวิตเตอร์ 32.9 และ ใช้อีเมลน้อยที่สุด (ร้อยละ 23.8) สรุปได้ดังภาพ 4-15-4-17
ภาพ 4-15: ร้อยละของความถี่ในการติดตามข่าวสาร
4-22