Page 69 - kpiebook66029
P. 69

การศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพสังคมใหม่ :
                                                       คุณภาพสังคมในทัศนะของเยาวชน
                 4.5.1  ความเท่าเทียมกันในสังคม

                 เมื่อสอบถามเยาวชนในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับความเท่าเทียมในสังคมไทยในเรื่อง
            โอกาสทางการศึกษา โอกาสในการทำางาน การบังคับใช้กฎหมาย รายได้และทรัพย์สิน การเข้าถึง
            ข้อมูลข่าวสาร และ ความเท่าเทียมทางเพศ ว่าเป็นอย่างไร พบว่า โดยส่วนใหญ่จะมอง
            ทุกประเด็นว่ามีทั้งความเท่าเทียมและไม่เท่าเทียม โดยเรื่อง “โอกาสทางการศึกษา”
            เป็นประเด็นที่มีความเท่าเทียมมากเป็นค่าร้อยละที่มากที่สุด และ เรื่อง “รายได้และ
            ทรัพย์สิน” เป็นประเด็นที่มีความเท่าเทียมมากเป็นค่าร้อยละที่น้อยที่สุด และ ยังพบว่า
            “การบังคับใช้กฎหมาย” เป็นประเด็นที่มีความไม่เท่าเทียมอย่างยิ่ง เป็นค่าร้อยละ
            ที่มากที่สุด สรุปดังตาราง 4-8



            ตาราง 4-8: ร้อยละของความเท่าเทียมกันในสังคม
                                               ทั้งเท่าเทียม
                                 เท่าเทียม ค่อนข้าง     ค่อนข้าง ไม่เท่าเทียม
                    ประเด็น                      และ                   ไม่ทราบ
                                   มาก เท่าเทียม       ไม่เท่าเทียม อย่างยิ่ง
                                               ไม่เท่าเทียม
             1) โอกาสทางการศึกษา   11.8  24.6    36.7    16.8    8.5    1.7
             2) โอกาสในการทำางาน   7.6   21.5    41.5    18.8    7.8    2.9

             3) การบังคับใช้กฎหมาย  8.6   19     34      20.5    15.2   2.8
             4) รายได้และทรัพย์สิน  5.9  18.1    39.5    22.6    10.8    3
             5) การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร 10.3  26.2  39.2  14.2   7.4    2.7

             6) เพศ                17    24.2    32.8    14.7    8.5    2.8

                 เมื่อสอบถามเยาวชนถึงความรู้สึกที่มีต่อสังคมที่อยู่อาศัยว่า มีความเปิดกว้างและ
            ให้สิทธิ์ด้านต่าง ๆ มากน้อยเพียงใด โดยให้เลือกระหว่างเป็นสังคมที่เลือกปฏิบัติ-สังคม
            ที่เปิดกว้าง และ เป็นสังคมที่จำากัดสิทธิ์-เป็นสังคมที่ให้สิทธิ์ด้านต่าง ๆ (คะแนน 1-10) พบว่า
            เยาวชนรู้สึกว่าสังคมมีความเปิดกว้างปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 6.15, S.D=2.41) และ รู้สึกว่าเป็น
            สังคมที่ให้สิทธิ์ด้านต่าง ๆ ปานกลางเช่นกัน (ค่าเฉลี่ย = 6.27, S.D=2.45) เมื่อเปรียบเทียบ

            ตามระดับชั้น พบว่า ความรู้สึกที่มีต่อสังคมที่อยู่อาศัยว่ามีความเปิดกว้าง ที่มีค่าเฉลี่ย
            น้อยที่สุด คือ นักเรียนชั้น ม.3 (ค่าเฉลี่ย = 5.86, S.D=2.49) ส่วนความรู้สึกที่มีต่อสังคม



                                                                       4-18
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74