Page 107 - kpiebook66012
P. 107
จากการศึกษากฎหมายของสหภาพยุโรปซึ่งในปัจจุบันมีการพัฒนา
เพื่อรองรับการประกอบธุรกิจในรูปแบบดิจิทัลแพลตฟอร์มซึ่งปรากฎในรูปแบบ
ของ EU E-Commerce Directive 2000/31/EC และ EU Regulation on
Platform-to business relation หรือ P2B Regulation และรวมถึงการพัฒนา
กฎหมายที่มีลักษณะเป็นการเฉพาะในการก�ากับดูแลธุรกิจแพลตฟอร์ม Proposal of
a Digital Service Act ซึ่งกฎหมายของสหภาพยุโรปในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปมาก
และเป็นกฎหมายที่น่าจะน�ามาพิจารณาประกอบการร่างกฎหมายของประเทศไทย
ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้กฎหมายของสหภาพยุโรปยังอยู่ในระหว่างการวาง
โครงสร้างในเรื่อง Digital Market Act ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ควบคุมกับ Digital Service
Act ในอีกมุมหนึ่งของการก�ากับดูแลตลาดดิจิทัลด้วย โดยวางหลักการก�ากับดูแล
ในรูปแบบลักษณะของกฎหมายดังกล่าวเป็นการก�ากับดูแลแบบบังคับหรือที่เรียกว่า
มาตรการก�ากับดูแลภายหลังไม่ได้ใช้ระบบการจดทะเบียนหรือระบบอนุญาต
แต่อย่างใด แต่มีลักษณะเป็นข้อก�าหนดผู้ให้บริการแพลตฟอร์มที่เข้าลักษณะ
เงื่อนไขตามที่ก�าหนดไว้นั้นต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของกฎหมายนั้น
อย่างไรก็ตามจากการศึกษาพบว่าปัจจุบันรูปแบบการให้บริการของ
แพลตฟอร์มดิจิทัลได้มีการพัฒนาในหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ส�าหรับ
การซื้อขายสินค้าและบริการ พื้นที่ส�าหรับการโฆษณาสินค้าและบริการ และ
พื้นที่ส�าหรับผู้ผลิตคอนเทนต์ต่างๆ ประเทศไทยจึงได้ริเริ่มจัดท�าร่างพระราชกฤษฎีกา
การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. ....
เพื่อใช้ในการก�ากับดูแลธุรกิจแพลตฟอร์มดิจิทัลในประเทศไทยได้อย่างเหมาะสม
อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยมีความเห็นว่าในการพิจารณาเพื่อสร้างกลไกในการก�ากับ
ดูแลระบบดิจิทัลจ�าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาในมิติต่าง ๆ เพื่อให้เกิด
สภาวะแวดล้อมดิจิทัลที่ดี (Digital Environmental) ซึ่งหากได้มีการศึกษาเพิ่มเติม
ในประเด็นดังกล่าวจะไม่ใช่เพียงแค่การสร้างกลไกในการก�ากับดูแลธุรกิจแพลตฟอร์ม
เท่านั้น แต่ยังรวมถึงแง่มุมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการท�าธุรกรรมผ่านระบบดิจิทัล
อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ จากการที่ได้ศึกษามานั้นพบว่าแม้ประเทศไทย
มีกฎหมายที่เกี่ยวเนื่องและอาจจะน�ามาปรับใช้กับการกระท�าในระบบดิจิทัลได้อยู่
107