Page 48 - kpiebook65063
P. 48
4. ความโปร่งใสขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4.1 ความโปร่งใสขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยภาพรวม
เพื่อให้เห็นภาพรวมสถานการณ์การจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ที่ครอบคลุมรอบด้านนอกจากประสิทธิภาพ ความพึงพอใจ และการมีส่วนร่วมของประชาชนแล้ว
เนื้อหาส่วนนี้จึงฉายภาพให้เห็นถึงความโปร่งใสขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งสะท้อนจาก
ความโปร่งใสขององค์กรในด้านการปฏิบัติหน้าที่ การใช้งบประมาณ การใช้อำนาจ การใช้ทรัพย์สิน
การแก้ไขปัญหาการทุจริต คุณภาพการดำเนินงาน ประสิทธิภาพการสื่อสาร การปรับปรุง ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19
การทำงาน การเปิดเผยข้อมูล และการป้องกันการทุจริต
ในปี พ.ศ. 2565 นี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกประเภทยกเว้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
รูปแบบพิเศษมีความโปร่งใสอยู่ในระดับ A องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นเพียงประเภทเดียวที่ได้คะแนนมากกว่า 90.00 ขณะที่เทศบาลเมือง เทศบาลนคร
เทศบาลตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบลได้คะแนนมากกว่า 85.00 ลดหลั่นกันลงไปตาม
ลำดับ สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ (กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา)
มีความโปร่งใสอยู่ในระดับ B โดยได้คะแนน 83.13 7
7 การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency
Assessment: ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยสำนักประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส สำนักงาน
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีการกำหนดเกณฑ์ในการแบ่งระดับผลการประเมิน
ออกเป็น 7 ระดับ ดังนี้
ระดับ “AA” ช่วงคะแนน 95-100 ส่วนที่ 2 สถานการณ์การจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ระดับ “A” ช่วงคะแนน 85-94.99
ระดับ “B” ช่วงคะแนน 75-84.99
ระดับ “C” ช่วงคะแนน 65-74.99
ระดับ “D” ช่วงคะแนน 55-64.99
ระดับ “E” ช่วงคะแนน 50-54.99
ระดับ “F” ช่วงคะแนน 0-54.99
ข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.). (2565). ประกาศ
สำนักงาน ป.ป.ช. เรื่อง ผลการประเมิน ITA 2565. [ออนไลน์]. สืบค้นจากเว็บไซต์ https://itas.nacc.go.th/ เมื่อวันที่
24 สิงหาคม 2565.
สถาบันพระปกเกล้า