Page 138 - kpiebook65063
P. 138

หนึ่งในปัญหาที่พบมากในตำบลนาคูณใหญ่ คือ ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นหรือ ปัญหา

               คุณแม่วัยใส สภาเด็กและเยาวชนตำบลนาคูณใหญ่ได้ตระหนักถึงปัญหานี้จึงจัดทำโครงการวัยรุ่น
               วัยเรียน วัยใส รักอย่างไรไม่ให้ตั้งครรภ์ โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาสังคม

               และความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครพนม โดยได้รับความอนุเคราะห์จากภาคีเครือข่าย วิทยากร
               จากโรงพยาบาลนาหว้า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาคูณใหญ่ และสำนักงานสาธารณสุข
               อำเภอนาหว้า โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมเป็นนักเรียนโรงเรียนประสานมิตร โรงเรียนบ้านนาคูณน้อย

               หนองหัวงัว และเยาวชน ในอดีตเมื่อ 5-6 ปีก่อนพื้นที่ตำบลนาคูณใหญ่มีอัตราการตั้งครรภ์สูงมาก
               เนื่องจากเด็กและเยาวชนยังเข้าไม่ถึงข้อมูลการป้องกันเมื่อมีเพศสัมพันธ์ โครงการนี้จัดขึ้นมาเพื่อ  ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19

               ให้เด็กและเยาวชนทุกคนในพื้นที่ได้เข้าถึงข้อมูลการป้องกันเมื่อมีเพศสัมพันธ์

                     จากการสัมภาษณ์ผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวถึงวัตถุประสงค์หลักของโครงการนี้ว่า



                           “การลดอัตราการตั้งครรภ์ของคุณแม่วัยใสในชุมชน เริ่มดำเนินโครงการใน
                     ปี พ.ศ. 2557 โดยเมื่อเริ่มจัดทำโครงการในช่วงแรกเด็กและเยาวชนในพื้นที่รู้สึกถึง

                     ความแปลกใหม่เพราะเป็นโครงการเกี่ยวกับเรื่องการมีเพศสัมพันธ์” (นาง ฌ3,
                     สัมภาษณ์, 1 มีนาคม 2565)




                     เมื่อเริ่มดำเนินโครงการมาอย่างต่อเนื่องเด็กและเยาวชนเริ่มปรับตัวได้เพราะเป็นเรื่อง

               ใกล้ตัวและเริ่มให้ความสนใจ ให้ความร่วมมือในการจัดอบรม ในการจัดทำโครงการนี้
               ผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า



                           “ทางโครงการจะมีกลุ่มภาคีเครือข่ายเข้าไปให้ข้อมูลเน้นย้ำกับผู้ปกครอง
                     และเด็ก ให้อย่าละเลยเรื่องการป้องกันเมื่อมีเพศสัมพันธ์ เมื่อตัวเด็กรับรู้และเข้าใจ  ส่วนที่   ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19

                     ข้อมูลจะทำให้มีการขยายผลโดนนำไปเล่าต่อให้ผู้ปกครองฟัง เมื่อโครงการได้มี
                     การดำเนินงานมาเรื่อย ๆ ทำให้โครงการประสบความสำเร็จและได้รับรางวัลสูจิบัตร
                     รางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2564 นอกจากนี้ทางสภาเด็กและเยาวชนมีแนวคิด

                     จะต่อยอดไปในพื้นที่ที่มีแนวคิดเดียวกัน โดยอาจจะก่อตั้งทีมสภาเด็กและเยาวชน
                     ให้เป็นที่ปรึกษาในพื้นที่ตำบลอื่น ๆ จนถึงระดับอำเภอ เพื่อให้โครงการนี้สำเร็จ

                     และมีกิจกรรมเสริมสร้างความรู้นอกเหนือจากเรื่องการป้องกันมีเพศสัมพันธ์”
                     (นางสาว ฌ2, สัมภาษณ์, 1 มีนาคม 2565)








                                                                              สถาบันพระปกเกล้า   12
   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143